Skip to main content
0

สรุปสั้น ๆ

วันนี้เราจะพาทุกคนมาเรียนรู้เรื่องของการทำ Micro-Interactions ในงานด้านการออกแบบกัน มาทำความรู้จักกับการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ ที่สามารถเปลี่ยนโลกความคิดของผู้ใช้งานใหม่ได้แบบน่าทึ่ง จะเป็นยังไงไปดูกัน

เขียนโดย
Tanawat Kusungnoen
Community Lead

บทความนี้ตีพิมพ์ และ เผยแพร่เมื่อ 03 เมษายน 2566

แน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็น Website หรือ Application บน Platform ไหน ทุกวันนี้เราน่าจะได้เห็นการนำเอา Animation หรือการเคลื่อนไหวเข้ามาใช้ในการแสดงผลในจุดต่าง ๆ เพื่อให้ดูน่าสนใจ น่าใช้งานมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกจุด ทุกขั้นตอนควรจะมี Animation ไปซะหมด เพราะอะไรที่มากไปก็อาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป วันนี้เราเลยจะพามาดูกับตัวอย่างของการเคลื่อนไหวที่ดูเล็กน้อย ไม่เล่นใหญ่ แต่ก็ส่งผลต่ออารมณ์และการใช้งานของผู้ใช้ได้ค่อนข้างมาก นั่นก็คือ Micro-Interactions

Micro-Interactions คืออะไร ?

อธิบายแบบทางการก็คือ องค์ประกอบเล็ก ๆ ในการออกแบบ UX/UI Design ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน Product หรือ Application ของเรา ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของภาพ สี เสียง หรือการเคลื่อนไหวก็ได้

โดยหลัก ๆ จะเน้นให้ตอบโจทย์กับ 3 หัวใจสำคัญคือ

1. สื่อสารให้ผู้ใช้รู้ว่าสถานะการทำงานเป็นยังไง
2.เพิ่มความรู้สึกพิเศษ น่าสนใจ ให้กับการใช้งาน
3.แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์จากการกระทำของผู้ใช้งาน

แต่ถ้าเอาสั้น ๆ เลยก็คือ การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ตรงไหนสักจุดบริเวณที่ผู้ใช้งานกำลังทำอะไรบางอย่างนั่นเอง

ทีนี้พูดไปอาจจะยังนึกภาพไม่ออกเพราะงั้นเรามาดูตัวอย่างจริงไปพร้อมกับการอธิบายเลยดีกว่า

จากตัวอย่างจะเห็นว่าหน้าจอทางขวา Element ต่าง ๆ จะมีการเคลื่อนที่เหลื่อมกันเล็กน้อย แตกต่างจากหน้าจอฝั่งซ้ายมือที่เลื่อนไปทั้งก้อนเลย ตรงนี้แหละคือ 1 จุดที่เราเรียกว่า Micro-Interactions แม้ว่าจะแตกต่างกันไม่มากแต่ก็ทำให้เรารู้สึกได้ว่ามันว้าว มันดูน่าสนใจ ดูน่าใช้ขึ้นมา แต่นี่ยังไม่ใช่ทั้งหมดนะ เดี๋ยวเรามาดูตัวอย่างกันต่ออีกสักหน่อยว่า Micro-Interactions มีรูปแบบไหนยังไงบ้าง

Swipe

ถึงเป็นการเคลื่อนไหวที่มักใช้ในจุดที่เป็นการเปลี่ยน Tab เพื่อดูรายการต่าง ๆ แทนการใช้ปุ่มแบบดั้งเดิม ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องและราบรื่นมากขึ้น

Loading Animation

เป็นการแสดงให้เห็นถึงสถานะการทำงานว่ากำลังดาวน์โหลดนะ ไม่ได้ค้าง หรือไม่ได้เกิดความผิดพลาดอะไร ลองนึกภาพว่าเรากดเข้าหน้าเว็บนึงไปแล้วไม่มีอะไรเคลื่อนไหวระหว่างรอเลย เราคงคิดไปได้หลายอย่างเลยว่า หน้าไม่โหลดรึเปล่า ค้างรึเปล่า หรือเป็นอะไร ซึ่งตัว Loading  Animation ก็จะมาช่วยสร้างความเข้าใจให้กับผู้ใช้งานตรงจุดนี้นั่นเอง

Button Animation

ตัวนี้จะมีหลาย State หน่อยตามการใช้งาน Button เช่น เมื่อผู้ใช้งานกำลังชี้หรือวางเมาส์บนปุ่ม ปุ่มอาจจะมีการเปลี่ยนสีหรือมีการเคลื่อนไหวเล็กน้อย หรือเมื่อผู้ใช้งานกดปุ่มก็อาจจะมีการเคลื่อนไหวที่ทำให้รู้ว่าปุ่มถูกกดแล้ว

Data Input

การมี Interaction บางอย่างในตอนกรอกข้อมูลอาจช่วยเพิ่มความง่ายให้กับผู้ใช้งาน หรืออาจเพิ่มการมีส่วนร่วมที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานให้ดีขึ้น

และนี่ก็เป็นตัวอย่างการใช้งาน Micro-Interactions ในจุดต่าง ๆ เพิ่มเติม จะสังเกตได้ว่า แต่ละจุดนั้นไม่ต้องมี Animation ที่หวือหวามากเกินไปก็ทำให้การใช้งานมีความแตกต่างได้แล้ว

ถ้าอยากออกแบบโดยใช้ Micro-Interactions ต้องเริ่มยังไง ?

แน่นอนว่าอย่างที่บอกไปตอนแรก ว่าการมี Interactions หรือ Animation นั้น สามารถช่วยสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีได้ แต่หากมีมากไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน ดังนั้นเรามาดูกันว่าหลักการที่เราจะออกแบบตัว Micro-Interactions นั้นควรคำนึงถึงอะไรบ้าง

ลองนึกภาพว่าตัวเองคือผู้ใช้ : การจำลองเป็นผู้ใช้งานจะทำให้เรารู้ว่า ผู้ใช้นั้นมีขั้นตอนหรือพฤติกรรมการใช้งาน Product ของเรายังไง ซึ่งจะช่วยให้เราออกแบบได้ง่ายว่าควรใช้ Micro-Interactions เข้าไปช่วยที่ตรงไหน

สร้าง Animation หรือการไหวที่สื่อสารได้ดี : การใส่ Animation หรือการเคลื่อนไหวไม่ใช่แค่ใส่เพื่อสวยงาม แต่สามารถใช้เพื่อช่วยสื่อสารบางอย่างให้ชัดเจนขึ้นได้ เช่น ผู้ใช้งานปัดหน้าจอไปขวา ถ้าหน้าจอเราเลื่อนไปซ้ายมันก็คงจะดูแปลก ๆ หรือถ้าผู้ใช้งานกดปุ่ม ปุ่มไม่จำเป็นต้องบินตีลังกาม้วนหน้า 35 ตลบ แต่แค่มีการเคลื่อนไหวให้ผู้ใช้รับรู้ว่ากดแล้วมีการทำงานก็เพียงพอแล้ว

อย่าสร้างความน่ารำคาน : หลักการข้อนี้จะคล้ายกับการใส่ Animation แต่อย่างที่บอกว่า Micro-Interactions นั้นสามารถอยู่ได้ในหลายรูแบบทั้งภาพ การเคลื่อนไหว เสียง การสั่น ซึ่งทั้งหมดนี้ถ้าเราใส่มากเกินไป ผู้ใช้อาจรู้สึกถูกรบกวนหรือรำคานมากกว่าแทนได้ ดังนั้นเช็คให้ชัวร์สิ่งที่เราออกแบบไป ผู้ใช้จะรู้สึกดีหรือสนุกกับมัน

สำหรับใครที่อยากลองสร้าง Micro-Interactions จริง ๆ ไม่ว่าจะสาย Figma หรือ Adobe XD ถ้าเป็นแบบไม่ขยับ Advanced มาก ส่วนตัวคิดว่าทั้ง 2 เครื่องมือสามารถทำได้ประมาณหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าใครอยากทำแบบ Custom แบบของตัวเองอาจจะต้องใช้เครื่องมือช่วยเพิ่มเติมสักหน่อย แต่ถ้าให้แอดแนะนำส่วนตัวคงเป็น After Effect น่าจะตอบโจทย์สุด ด้วยความสามารถ การใช้งานร่วมกันทั้งใน Adobe XD และ Figma เรียกว่าค่อนข้างตอบโจทย์เลย (แต่อาจจะติดตรงที่ไม่ฟรีนี่แหละปัญหาใหญ่ 😂)

และก็จบกันไปกับเรื่องราวของ Micro-Interactions ยังไงก็หวังว่าจะพอช่วยไขข้อสงสัย หรือเพิ่มความเข้าใจในเรื่องนี้ให้กับใครหลาย ๆ คนมากขึ้นกันอีกไม่มากก็น้อย เดี๋ยวในครั้งต่อไปเดี๋ยวจะลองหาเทคนิคการทำแบบไว ๆ ดีไซน์สวยมาฝากกัน อย่าลืมติดตามกันไว้น้าาาา 💞

 

ระบบฝึกทักษะ การเขียนโปรแกรม

ที่พร้อมตรวจผลงานคุณ 24 ชั่วโมง

  • โจทย์ปัญหากว่า 200 ข้อ ที่รอท้าทายคุณอยู่
  • รองรับ 9 ภาษาโปรแกรมหลัก ไม่ว่าจะ Java, Python, C ก็เขียนได้
  • ใช้งานได้ฟรี ! ครบ 20 ข้อขึ้นไป รับ Certificate ไปเลย !!
เข้าใช้งานระบบ DevLab ฟรี !เรียนรู้เพิ่มเติม

เรียนรู้ไอที “อัพสกิลเขียนโปรแกรม” จากตัวจริง
ปั้นให้คุณเป็น คนสายไอทีระดับมืออาชีพ

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev
Close Menu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า