Skip to main content
0

สรุปสั้น ๆ

หากต้องมาทำ Front-end สิ่งที่เราต้องรู้นั้นต้องมีทั้งในมุมมอง Technical ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐาน HTML, CSS, JavaScript จนถึง Web Standard และ การทำ Responsive Design ที่ทำให้เว็บของเรารองรับอุปกรณ์หลักในการแสดงผล

นอกจากนี้ยังมีความรู้ด้านการออกแบบ UX และ การใช้งาน Component ที่แม้ว่าปกติแล้วจะมี UX/UI Designer ทำงานส่วนนี้เฉพาะทาง แต่กรณีที่เราเป็น Front-end Developer นี่คือส่วนหนึ่งที่ควรรู้พื้นฐานเพื่อใช้ในการออกแบบ และ เข้าใจ Element ต่าง ๆ ที่ปรากฎในงานของเราด้วย

เขียนโดย
Kittikorn Prasertsak (Prame)
Founder @ borntoDev

บทความนี้ตีพิมพ์ และ เผยแพร่เมื่อ 18 มกราคม 2566

คนทำเว็บ คนเขียนโปรแกรม อาชีพสุดฮิตแห่งยุค

ปัจจุบันแอดเปรมต้องบอกเลยว่าอาชีพฝั่ง Software Developer หรือ นักพัฒนาโปรแกรม ได้รับความต้องการในตลาดมาก ๆ จนต้องบอกว่าในตลาดแรงงานความต้องการ “นักพัฒนาโปรแกรมที่ทำงานได้” มีมากกว่าจำนวนผู้ที่มีทักษะ จนเรียกได้ว่า “ถ้าเขียนโปรแกรมเป็น” ก็ขายออกหมด

จนทำให้คนนอกสายไอที (หรือ คนไอทีที่ไม่ใช่ Developer มาก่อน) สนใจที่อยากเข้ามาทำงานจำนวนมาก โดยทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับพื้นฐานที่แตกต่างกันออกไป และ ตำแหน่งจริง ๆ ของ Software Developer ซึ่งก็มีหลากหลายสาขา ทั้งเว็บ ทั้งสายแอป ทั้งสายวิเคราะห์ข้อมูล จนไปถึง Automation ต่าง ๆ

แค่ Laptop + Web Programming Skill ก็เริ่มได้แล้ว

โดยสายเว็บก็เป็นหนึ่งในสายที่ได้รับความนิยมสุด ๆ สำหรับประเภทงานนั้นมักจะถูกแบ่ง 2 ฝั่งหลัก ๆ คือ Front-end และ Back-end โดยถ้าพูดถึงการออกแบบว่าหน้าฝั่งหน้าบ้านของเว็บไซต์ หรือ หน้าตาที่เราเห็นกันนั่นเอง และ ส่วน Back-end คือส่วนประมวลผลการทำงานหลักของเว็บไซต์ การติดต่อกับฐานข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอันดับแรกเราจะต้องดูก่อนว่าเราเหมาะกับอันไหน

ย้ายสายมา ทำได้ไหมนะ ?

อย่างที่แอดเปรมได้บอกก่อนหน้าว่า “สาย Web Dev นี่มีประชากรที่หลากหลายมาก ๆ” ที่เคยเจอแล้วกระโดดมาทำสายนี้บางคนมาจากอาชีพอื่น เช่น วิศวะเครื่องกล, สถาปนิก, บัญชี ก็มี แต่ต้องบอกว่าการที่เรามาจากสายอื่นแล้วทำได้ ไม่ใช่เพราะว่าการเป็น Web Dev มันง่ายนะ แต่สายนี้มันเปิดโอกาสให้เรา “เรียนรู้ได้” แค่มีคอมพิวเตอร์ กับ ใจที่พร้อมเท่านั้นเอง !

ว่าแต่ต้องมีสกิลอะไร หรือ เรื่องอะไรที่สำคัญบ้างนะ ?

สำหรับวันนี้แอดเปรมได้เตรียมข้อมูลมาไว้ทั้งหมดแล้ว ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ที่ถ้าเรา “จะเริ่มต้น” ต้องมีดังนี้เลย

ไล่เรียนตามเช็คลิสต์นี้ได้เลยคร้าบ !

1. “HTML & CSS

ส่วนที่สำคัญที่สุดของเว็บ เป็นเหมือนรากฐานของการแสดงผลทั้งหมด เราจะต้องเข้าใจ HTML และ CSS ในส่วนโครงสร้าง การปรับแต่งให้มีหน้าตาตรงตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ในส่วนนี้แอดแนะนำให้ลองศึกษาพื้นฐานให้ครบ และ หาต้นแบบของเว็บสักเว็บมาทำตาม ก็เป็นวิธีที่ดีในการเรียนรู้

2. “JavaScript

ส่วนแสดงผลเราจะใช้ HTML & CSS แต่การกำหนด Logic วิธีการคิด การทำงาน เช่น กรอกข้อมูลไป ให้เอาไปบวก ลบ คูณ หาร ไปเก็บไว้ในฐานข้อมูล ตรงนี้จำเป็นต้องใช้ภาษาโปรแกรมในการกำหนดการทำงานของโปรแกรมนั่นเอง

สำหรับวิธีในการเรียนส่วนนี้อย่างมีคุณภาพ คือ แนะนำให้ลองทำโจทย์เยอะ ๆ โดยหน้าตาโจทย์จะเป็นประมาณนี้

ตัวอย่างหน้าตาโจทย์ของการเขียนโปรแกรม

จากที่เห็นเป็นโจทย์ตัวอย่างจากเว็บ DevLab ระบบแบบฝึกหัด แบบทดสอบการพัฒนาโปรแกรมที่ให้ทุกคนได้ใช้งานฟรี หากต้องการใช้งานก็สามารถ คลิกได้ที่นี่เลย !

โดยแนะนำให้ทำทุกวันที่เริ่มเขียนโปรแกรม วันละอย่างน้อย 3 – 5 โจทย์ การทำนั้นให้ไล่ระดับจากเรื่องที่เราศึกษา เช่น ตัวแปร, การวนซ้ำ หรือ การตรวจสอบเงื่อนไข ก็สามารถไล่ไปตามโจทย์ได้เลย

3.Web Standards & Accessibility

เรื่องนี้สำคัญ แต่หลายคนมองข้าม คือการทำเว็บให้มีมาตรฐาน และ ให้ทุกคนสามารถเข้าใช้ และ เข้าถึงได้ รวมถึงผู้ที่มีความหลากหลาย เช่น เราสามารถทำเว็บไซต์ให้รองรับกับการอ่าน ของเครื่องช่วยอ่าน ที่ผู้มีปัญหาด้านการมองเห็นสามารถเข้าใจเว็บของเราได้ หรือ การทำเว็บที่รองรับผู้ที่ตาบอดสี ทำให้การเห็นข้อมูลนั้นไม่ผิดเพี้ยนไป

ซึ่งในการทำเว็บ จะมี Tag และ Attrubute เหล่านี้อยู่ เรามีหน้าที่ทำความเข้าใจ เพื่อให้เว็บของเรารองรับผู้ใช้งานได้ทุกกลุ่ม และ ที่สำคัญตัวนี้เน้น ๆ สำหรับใครที่อยากทำเพื่อใช้สำหรับหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรที่ทำเพื่อสังคม ต้องการให้ระบบเข้าถึงอย่างเท่าเทียมจริง ๆ ได้ด้วยนะ

4.Web Performance

ว่ากันว่า “เว็บที่รอโหลดนานเกิน 5 วิ ผู้ใช้งานจะปิดเว็บเรา ไปเข้าเว็บอื่นทันที”

เรื่องนี้คือสำคัญที่สุด เพราะส่งผลกับผู้ใช้โดยตรง กับเรื่องประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่เราพัฒนาขึ้นนั่นเอง ตรงนี้เราสามารถทำให้เว็บของเรา Load เร็วขึ้นได้ จากการปรับปรุงทั้งตัวโค้ด ตัวไฟล์ มีเดียต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เราต้องรู้วิธีการวัดผลด้วยนะ เพราะไม่เช่นนั้นเราก็จะไม่รู้ว่าเว็บเราเร็วขึ้นจริง ๆ ไหมนั่นเอง

5. “Responsive Design”

อย่างที่เรารู้ เดี๋ยวนี้ขนาด อัตราส่วนหน้าจอมีหลากหลายไปหมด การที่เราสามารถออกแบบหน้าเว็บของเราให้รองรับอุปกรณ์ที่เปลี่ยนไปได้ ตรงนี้เราจะเรียกว่า Responsive Web Design นั่นเอง

โดยในกรณีนี้เราจะต้องเรียนรู้จากการที่มีหน้าจอทดสอบที่หลากหลายได้ จึงแนะนำให้ทุกคนไปซื้อมือถือ หรือ อุปกรณ์มาเยอะ ๆ เพื่อทดสอบ

เอ้ย ! ไม่ใช่แล้วว แต่เป็นการใช้ Dev Tools ให้เป็นเพื่อทดสอบการแสดงผลรูปแบบต่าง ๆ ของหน้าเว็บได้เลย

6. “Development Tools”

หรือ เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม ที่ไม่ใช่แค่เขียนโค้ดด้วย Code Editor ตัวเดียวแล้วจะใช้ได้ตลอดนะ เพราะเราจะต้องมีทั้งเครื่องมือในการทดสอบ ในการช่วยเขียนโค้ดให้มีคุณภาพ เช่น ส่วนเสริมในการตรวจสอบ Syntax ต่าง ๆ หรือ การทำ Automation ที่ให้งานของเราที่มีหน้าที่ทำเว็บ มันเป็นไปแบบอัตโนมัติ เช่น เมื่อเซฟข้อมูล ไฟนอลเรียบร้อย ให้นำไฟล์นี้ขึ้น Server ให้เองแบบอัตโนมัติ

7. “User Experience & User Interface Design”

สุดท้าย และ ท้ายที่สุดกับความเข้าใจเรื่องประสบการณ์ผู้ใช้ และ การออกแบบ UI หรือ หน้าตาของระบบนั่นเอง เพราะต้องบอกว่า สาย Front-end นี้เป็นส่วนที่สร้างสรรค์ผลงานให้ผู้ใช้งานใช้กันจริง ๆ เราจะต้องเข้าใจหน้าที่ของ UI Component หรือ พวกปุ่ม พวกฟิลด์ ช่องต่าง ๆ

การออกแบบ UX UI ถือว่าเป็นหนึ่งศาสตร์ที่พูดทั้งวันไม่จบ แต่ว่ามีความสำคัญกับความรู้สึกผู้ใช้มาก ๆ

แต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร ส่วนไหนควรใช้อะไรนั่นเอง และ ส่วนประสบการณ์ หรือ ความรู้สึกผู้ใช้งาน การวางลำดับความสำคัญของเนื้อหา จนถึง การทดสอบการใช้งานจริง ก็คือส่วนที่เราต้องรู้เพื่อออกแบบเว็บ ที่บอกเลยว่า ส่วนนี้ก็สำคัญมาก ๆ เลยหละ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นความรู้พื้นฐานที่เพียงพอสำหรับเริ่มต้นทำงานสาย Front-end ได้แล้ว ซึ่งเราสามารถฝึกฝนและพัฒนาความสามารถเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง โดยอาจจะใช้เวลามากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการเรียนของเรา และ เวลาที่เรามีให้ในการเรียนนั่นเอง

แต่ถ้าใครไม่อยากงมนั่งเรียนเองเป็นปี ๆ

ตอนนี้เรามีหลักสูตร Bootcamp ที่สอนสดรูปแบบออนไลน์ ที่เปลี่ยนคุณให้เข้าใจ และ เป็น Front-end Developer ได้ใน 3 เดือนครึ่ง กับ “ROAD TO FRONT-END DEVELOPER Bootcamp”

ที่เรียนแบบจัดเต็มกว่า 28 วัน ในทุกวันอังคาร และ พฤหัสบดี เวลา 19.00 – 21.00 น. เรียกได้ว่า หลังเลิกงานค่อยมาเรียน หรือ จะอัพสกิล เตรียมทำงานไประหว่างเรียนหนังสือก็ทำได้นะ !

พิเศษ ! สำหรับ 50 ท่านแรก เรามีโปรเด็ด เพียงใส่โค้ด FRONTEND99 ก็รับส่วนลดทันที จากปกติ ฿29,700 เหลือเพียง ฿9,900 เท่านั้น  สนใจรายละเอียด สามารถเข้ามาดู ลงทะเบียนกันได้แล้ว ที่นี้ เลย

ระบบฝึกทักษะ การเขียนโปรแกรม

ที่พร้อมตรวจผลงานคุณ 24 ชั่วโมง

  • โจทย์ปัญหากว่า 200 ข้อ ที่รอท้าทายคุณอยู่
  • รองรับ 9 ภาษาโปรแกรมหลัก ไม่ว่าจะ Java, Python, C ก็เขียนได้
  • ใช้งานได้ฟรี ! ครบ 20 ข้อขึ้นไป รับ Certificate ไปเลย !!
เข้าใช้งานระบบ DevLab ฟรี !เรียนรู้เพิ่มเติม

เรียนรู้ไอที “อัพสกิลเขียนโปรแกรม” จากตัวจริง
ปั้นให้คุณเป็น คนสายไอทีระดับมืออาชีพ

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev
Close Menu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า