UX Research กับ DATA มีความสำคัญอย่างไร ? หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าการจัดการข้อมูล หรือ Data นั้นสำคัญต่อ UX Research อย่างไร การจัดการข้อมูลในกระบวนการ UX Research ไม่ว่าจะเป็น Quantitative (การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ) หรือ Qualitative (การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ) ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสัมภาษณ์จำเป็นต้องมีวิธีการเก็บหรือสร้างฐานช้อมูลที่ดีเพื่อให้ เข้าใจแก่นแท้ของปัญหาได้ตรงจุดยิ่งขึ้น
โดย Pitchaya Tangtanawirut
“To Understand UX , you need to understand people”
แล้ว Data คืออะไร ?
Data คือชุดข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นมาจาก User ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้งานภายในแอพพลิเคชั่น การเข้าออก จ่ายเงิน หรือแม้กระทั่งข้อมูล Username ที่เรากรอกเข้าไปในระบบ ล้วนเป็น 1 Data point ที่ให้ผู้พัฒนา และ นักออกแบบสินค้าเข้าใจ และ ปรับปรุงแอพพลิเคชั่นให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานยิ่งขึ้น
UX/UI Designer สามารถนำ Data มาใช้ในการทำงานได้ในขั้นตอนใดบ้าง ?
ขั้นตอนที่ 1 : Pre Service – ก่อนลูกค้าเข้ามาใช้บริการ
ในกระบวนการก่อนการเจาะหาพฤติกรรมของผู้ใช้ เราจำเป็นจะต้องนำชุดข้อมูลหลังบ้าน มาวิเคราห์ก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายเรามีแบบใดบ้างผ่านข้อมูลเชิงปริมาณ หลังจากนั้นเราสามารถนำมาใช้สำหรับการตั้ง Hypothesis หรือสมมติฐานของเรา ว่าลูกค้าจะใช้หรือเข้ามาดูหน้านี้บ่อยแค่ไหน หรือตามเป้าที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้นหรือไม่อีกด้วย
นอกจากการตั้ง hypothesis หรือสมมติฐานแล้ว เรายังสามารถนำ Data มาวิเคราะห์พฤติกรรมโดยละเอียดอีกครั้งว่า ก่อนที่ผู้ใช้งานจะเข้ามาใช้เรา เขาต้องผ่านอะไร หรือ มีปัญหาอะไรมาก่อนบ้างนะ หรือองค์ประกอบอะไรที่สามารถเป็นประตูอีกบานที่นำมาสู่แอพพลิเคชั่นหรือสินค้าที่เราทำอยู่ได้
ยกตัวอย่างเช่น เราอยากจะออกแบบแพลตฟอร์มเพื่อการซื้อของสดเข้าบ้านในฐานะ UX Researcher ต้องไปหาแล้วว่าคนจ่ายตลาดส่วนใหญ่อยู่ในอายุเท่าไหร่ หรือ ต้องไปทำอะไรก่อนมาจ่ายตลาดในแต่ละครั้งบ้างยกตัวอย่างเช่น เราได้ค้นพบจากการสัมภาษณ์ว่าผู้คนที่ไปจ่ายตลาดส่วนใหญ่เป็นพนักงานเงินเดือนอายุราว ๆ 30-40 กว่า ๆ แต่มีปัญหาด้านการเดินทางก่อนไปจ่ายตลาดหลายครั้ง เพราะฉะนั้นเราสามารถนำข้อมูลมาตั้งมสสติฐาน และ map journey ในช่วงก่อนเข้าใช้บริการได้แม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประตูมาสู่สินค้าหรือแอพพลิเคชั่นที่เราออกแบบอยู่นั่นเอง
ขั้นตอนที่ 2 :During Service – ระหว่างการใช้บริการ
ในขั้นตอนนี้การเก็บ Qualitative Data เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรารู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน ทำให้เรารู้ว่า User กดปุ่มไหนเป็นพิเศษบ้าง มี flow การใช้งานอย่างไรบ้าง drop off เมื่อไหร่ ข้อมูลตรงนี้เป้นประโยชน์มาก ๆ สำหรับการดู User Interaction ภายในสินค้าของเราว่าตอบโจทย์จริงไหม
ขั้นตอนที่ 3 : Post Service – หลังการใช้บริการ
หลังจากที่ User ได้เข้ามาใช้ เราสามาถรดูได้ว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นสามารถ complete task ได้ตามที่ต้องการ หรือตามที่ตั้งสมมติฐานไว้ตั้งแต่แรกไหม มีกี่เปอร์เซนท์ที่เข้ามาแล้วทำจบครบ flow ที่เรากำหนด หรือถ้าเกิดมีผู็ใช้งานจำนวนมากที่เข้ามาแล้ว ไม่สามารถ complete ได้ครบตามที่เราตั้งไว้ตั้งแต่แรก เราก็สามารถนำ Data Point ตรงนี้ไปวิเคราะห์ต่อได้ว่าเพราะว่าอะไรถึงมีคนจำนวนมากที่เข้ามาแล้วใช้งานไม่จบตามที่เราคาดไว้ ซึ่งตรงนี้ก็สามารถนำไปค้นคว้าผ่านการสัมภาษณ์หรือผ่านกระบวนการ Qualitative Research จากผู้ใช้งานโดยตรงได้อีกเช่นกัน
แล้วทำไม UX / UI Designer จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ Data
เหตุผลที่ 1 – Personalization
อีกเทรนด์นึงที่กำลังมาแรงเลยนั่นก็คือ Personalization หรือการมอบประสบการณ์ให้เหมาะกับผู้ใช้งานรายบุคคลโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น แอพพลิเคชั่น Shopping ต่าง ๆ สามารถให้เรากดเลือก หรือ กดถูกใจสินค้าที่เราชอบ จนตัวประสบการณ์นั้นก็เปรียบเสมือนว่าทำให้เจ้าของมีสิทธิควบคุม หรือ สนุกกับการใช้งานได้จริง ๆ และนี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ user รู้สึกติดใจอยู่ที่แอพใดแอพนึงเป็นเวลานาน
เหตุผลที่ 2 – การทำสินค้าให้เป็น Data Driven ที่มาจากผู้ใช้งานจริง ๆ
อีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญมาก ๆ เลยคือการทำสินค้าของเราให้เป็น Data Driven ซึ่งการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ หรือ จัดเก็บให้เข้าที่เข้าทางนั้น สามารถทำให้นักพัฒนาสินค้าเห็นถึงปัญหาว่ามีจุดไหนที่ควรปรับบ้าง หรือ มีจุดไหนที่ควรเก็บไว้บ้าง ซึ่งไม่ได้มาจากการมโนขึ้นมาจากทีมใดทีมหนึ่ง
สุดท้ายแล้ว แอดคิดว่าเรื่อง Data และ UX นั้น มีความเชื่อมโยงและยังน่าค้นหาอีกหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากโลกของเราในตอนนี้ถูกนำพาด้วยเทคโนโลยีเป็นหลัก เพราะฉะนั้นการจัดเก็บและิวเคราะห์ข้อมูลนั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้สินค้าของเราเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคตอย่างแน่นอน !