พาไปทำความรู้จักกับ Technical SEO คือ อะไร เพราะเหตุใดนักพัฒนาเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญ พร้อมแนะนำลักษณะเว็บไซต์ที่ทำ Technical SEO คุณภาพ
โดย คุณเกน รัชวิทย์ หวังพัฒนธน
Business Development Director, Anga Bangkok
Technical SEO คืออะไร?
นักพัฒนาเว็บไซต์ (Web Developer) จะรู้กันดีว่า การทำเว็บไซต์ให้ประสบความสำเร็จ และมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่จะต้องให้ความสำคัญ คือการทำ Search Engine Optimization (SEO) ให้มีคุณภาพ ซึ่งเป็นการปรับแต่งเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับการทำงานของเสิร์ชเอนจิน (Search Endine) เพื่อให้เสิร์ชเอนจินเข้าใจเนื้อหาในเว็บไซต์ แล้วเลือกไปจัดอันดับในหน้าการค้นหาของคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง
การทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัย Technical SEO ในการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ตรงจุด ซึ่งมีหลายส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ สำหรับมือใหม่ หรือนักธุรกิจท่านใดที่เพิ่งเริ่มทำเว็บไซต์ของตนเอง แล้วยังไม่รู้ว่า Technical SEO คืออะไร เราจะพาคุณไปหาคำตอบ
Technical SEO คือ ?
Technical SEO คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์และเซิร์ฟเวอร์เชิงเทคนิค เช่น การทำแผนผังเว็บไซต์, การปรับปรุงความเร็วในการแสดงผล หรือใช้ SSL Certificate เป็นต้น เพื่อให้บอทของเสิร์ชเอนจินสามารถเข้ามารวบรวมข้อมูล (Crawling) และจัดทำดัชนีเว็บไซต์ (Indexing) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มการจัดอันดับบนหน้าการค้นหาได้อย่างรวดเร็ว
เพราะเหตุใด Web Developer ถึงต้องให้ความสำคัญกับการทำ SEO?
สาเหตุที่นักพัฒนาเว็บไซต์ต้องให้ความสำคัญกับการทำ SEO เพราะมีผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Visitor) จำนวนมากที่เข้าชมเว็บไซต์ผ่านเสิร์ชเอนจิน โดยสถิติจาก Brightedge ซึ่งเป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาและจัดทำสถิติ SEO เผยว่า มีคนเข้าชมเว็บไซต์ผ่านเสิร์ชเอนจินมากถึง 68% โดยมีจำนวนมากกว่า 53% ที่เป็น Organic Search ส่วนที่เหลือเข้ามาผ่าน Paid Search หรือที่เรียกว่า “Search Engine Marketing (SEM)”
การทำ SEO ส่วนใหญ่นั้น จะเน้นปรับปรุงเว็บไซต์ให้รองรับเสิร์ชเอนจินของ Google เป็นหลัก เนื่องจากเป็นเสิร์ชเอนจินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มากกว่า 90% ที่เลือกใช้ Google เป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในขณะที่เสิร์ชเอนจินอื่น ๆ เช่น Bing, Yahoo หรือ Baidu มีจำนวนผู้ใช้งานเพียง 5% เท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ นักพัฒนาเว็บไซต์จึงให้ความสำคัญกับการทำ SEO ให้รองรับเสิร์ชเอนจินของ Google มากที่สุด เพราะจะช่วยปรับปรุงเว็บไซต์แบบองค์รวม และเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้มากขึ้นหลายเท่าตัวนั่นเอง
เว็บไซต์ที่ทำ Technical SEO คืออะไร ควรมีลักษณะแบบไหน?
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และเข้าใจว่าการทำ Technical SEO คืออะไร เราได้รวบรวม 5 ลักษณะของเว็บไซต์ที่ทำ Technical SEO อย่างมีประสิทธิภาพมาฝาก จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย
1. มีความปลอดภัย
การทำเว็บไซต์ให้มีความปลอดภัยต่อผู้เข้าชมเว็บไซต์ ไม่มีการลักลอบดูข้อมูลของผู้ใช้งานขณะเข้าชมเว็บไซต์ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ Google ให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณสามารถดูเว็บไซต์ที่มีความปลอดภัยได้ง่าย ๆ จากการรับรอง SSL (Secure Sockets Layer) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสาร หรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สังเกตได้ง่าย ๆ จาก ชื่อ URL ของเว็บไซต์ โดยจะต้องเริ่มต้นด้วย “https://” แทนที่จะเป็น “http://”
2. แสดงผลอย่างรวดเร็ว
Google ให้ความสำคัญกับความเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเว็บอย่างมาก เว็บไซต์ไหนที่ต้องใช้ระยะเวลาในการดาวน์โหลดนานมักจะไม่ถูกจัดอันดับดี ๆ บนหน้าการค้นหา เนื่องจากมีงานวิจัยพบว่า 53% ของผู้เข้าชมเว็บไซต์บนสมาร์ตโฟนจะกดออกจากเว็บไซต์ทันที หากหน้าเว็บไซต์ยังไม่แสดงผลภายใน 3 วินาที
สำหรับการปรับปรุงเว็บไซต์ให้แสดงผลได้รวดเร็วมากขึ้นนั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น
-
ใช้บริการโฮสติ้ง (Hostig) และบริการจดโดเมนเนม (Domain Name Registrar) ที่แสดงผลรวดเร็ว
-
ลดการใช้ปลั๊กอิน (Plugin) ที่ไม่จำเป็น
-
ลดขนาดไฟล์รูปภาพให้มีขนาดเล็กที่สุด
-
บีบอัดไฟล์ต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลง
3. รองรับการแสดงผลบนสมาร์ทโฟน
อีกหนึ่งสิ่งที่ Google ให้ความสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ ก็คือ การออกแบบเว็บไซต์ให้รองรับการใช้งานกับทุกอุปกรณ์ โดยเฉพาะสมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อสารที่คนใช้งานมากที่สุด สามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ทุกที่ทุกเวลา เราเรียกการออกแบบเว็บไซต์นี้ว่า “Moble Friendly”
หากคุณมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง อย่าลืมที่จะตรวจสอบคุณภาพการแสดงผลของเว็บไซต์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ทั้งสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และเดสก์ท็อปอยู่เสมอ ทำได้ง่าย ๆ โดยการใช้เครื่องมือ Moblie Friendly Test ของ Google Search Console
4. มีการสร้างแผนผังเว็บไซต์ (XML Sitemap)
การทำแผนผังเว็บไซต์ หรือ “XML Sitemap” เป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญของการปรับปรุง SEO เชิงคุณภาพ เพราะ Sitemap จะช่วยนำทางให้เสิร์ชเอนจินเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ที่สำคัญทั้งหมด โดยเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการให้ติดอันดับ หรือต้องการให้มีผู้เข้าชมจำนวนมาก เช่น หน้าบริการ หรือหน้าสินค้า ซึ่งจะช่วยให้ Google สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งเว็บไซต์ได้ดีขึ้น และถูกจัดอันดับรวดเร็วขึ้น
สำหรับวิธีการสร้าง Sitemap นั้น ในคนที่ใช้ WordPress สามารถทำได้ด้วยปลั๊กอิน SEO อย่าง Yoast SEO, Rank Math หรือ All in One SEO Pack ส่วนคนที่ใช้แพลตฟอร์มอื่น ๆ สามารถสร้าง Sitemap ได้ผ่านโปรแกรมออกแบบ Sitemap ต่าง ๆ ที่ให้บริการบนเว็บเบราว์เซอร์
สิ่งสำคัญก็คือ หลังจากที่คุณสร้าง Sitemap เสร็จแล้ว จะต้องส่ง Sitemap ให้กับ Google ด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะไม่ทำให้เกิดประโยชน์อะไร โดยการเพิ่มลิงก์ Sitemap ที่หน้าแผนผังไซต์ของ Google Search Console
5. เสิร์ชเอนจินสามารถเข้ามารวบรวมข้อมูลได้
ก่อนที่เสิร์ชเอนจินของ Google จะจัดอันดับเว็บไซต์ของคุณนั้น จะมีการใช้บอทเข้ามารวบรวมข้อมูลบนเว็บไซต์ก่อน ซึ่งเว็บไซต์ที่มีการทำ Technical SEO ที่ดีนั้น จะต้องทำให้บอทเข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ได้ง่าย ซึ่งคุณสามารถใช้ไฟล์ robots.txt ในการแนะนำข้อมูลสำคัญที่ต้องการให้บอทรวบรวม หรือทำ Meta Tag เพื่อไม่ให้บอทเก็บข้อมูลหน้าที่ไม่ต้องการให้ค้นหาเจอได้ โดยการตั้ง noindex หรือ nofollow บน Yoast SEO เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การตั้งค่าไฟล์ robots.txt รวมถึง noindex และ nofollow จะต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะการใช้คำสั่งรวบรวมข้อมูล หรือจัดทำดัชนีหลาย ๆ แบบร่วมกัน อาจทำให้คำสั่งต่าง ๆ ขัดแย้งกัน และทำให้ผลลัพธ์ของการปรับปรุงเว็บไซต์แย่ลงกว่าเดิมได้
ความสำคัญของการใช้บริการรับทำ SEO
จะเห็นได้ว่าการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพนั้น ความรู้ด้านการทำ Technical SEO คือสิ่งที่จำเป็นที่สุด โดยผู้ทำเว็บไซต์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำ SEO อย่างรอบด้าน เช่น หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน, วิธีทำ Keyword Research ที่ตรงกับ Search Intent, แนวทางการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้แสดงผลอย่างรวดเร็ว หรือการทำ Backlink ที่มีคุณภาพ ซึ่งผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำเว็บไซต์อาจไม่ได้มีความรู้ครอบคลุมการทำ SEO ทั้งหมด และถ้าหากปรับแต่งเว็บไซต์ไม่ถูกหลักก็อาจทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้
ด้วยเหตุนี้การใช้บริการ รับทำ SEO กับบริษัทการตลาด หรือเอเจนซี่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำ SEO โดยเฉพาะ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ที่ต้องการทำเว็บไซต์ของตนเองนิยมทำกัน โดยเฉพาะเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เพราะได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็ว วัดผลได้จริง โดยที่ไม่ต้องไปนั่งลองผิดลองถูกนั่นเอง