Skip to main content
0

จะวัดผลการออกแบบ UX/UI ยังไง ในเมื่อมันก็แค่ “ความรู้สึก” ?

หลายคนเห็นหัวข้อ อาจจะคิดแบบนี้แน่ ๆ และในวันนี้แอดเปรมขอพาไปเจาะลึก “Google HEART Framework” ตัวช่วยวัดผล UX (User Experience) ที่ฮิตกันในวงการ IT ที่จะเปลี่ยนการออกแบบแอปฯ หรือเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น! 😍

ลองจินตนาการว่า UX ของเราก็เหมือนร้านกาแฟ ถ้าร้านเรากาแฟอร่อย บรรยากาศดี แต่คนเข้าร้านยาก ยังไงก็คงขายไม่ดีใช่ไหม? นั่นแหละ! Google HEART Framework ก็เหมือนเป็นชุดเครื่องมือเอาไว้วัดคุณภาพร้านกาแฟ ที่บอกว่า UX เราโอเคแค่ไหนนั่นเองงงง! 💡

Google HEART Framework คืออะไร?

Google HEART Framework เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยทีม Google UX Research ที่ถูกออกแบบมาเพื่อวัด ประสบการณ์การใช้งาน (UX) ของผู้ใช้ในเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ หรือบริการดิจิทัลอื่น ๆ โดยมีจุดเด่นตรงที่ครอบคลุมทุกมิติของการใช้งาน และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกขนาดของโปรเจกต์

Framework นี้ใช้ 5 ด้านสำคัญ ในการวัด UX ซึ่งแต่ละด้านมาพร้อมกับคำถามสำคัญที่ช่วยให้เรารู้ว่าผู้ใช้งานพอใจและสะดวกสบายในการใช้งานมากแค่ไหน

ท่ามกลาง User มากมาย ต่างคนก็บอกว่าดี เราจะใช้อะไรวัดว่าดีกันดีหละ ?

1. Happiness (ความสุข): UX เริ่มต้นที่ความพึงพอใจ

หมวดนี้เน้นวัดความรู้สึกของผู้ใช้งาน เช่น พวกเขาชอบบริการของเรามากน้อยแค่ไหน? มีความสุขหลังใช้งานหรือเปล่า? โดยใช้ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น

  • Net Promoter Score (NPS): ผู้ใช้พร้อมจะแนะนำบริการของเราให้เพื่อนหรือไม่
  • คะแนนรีวิว: เช่น ใน App Store, Google Play, หรือแบบสำรวจความพึงพอใจ

ตัวอย่าง

  • สมมติเราเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่แล้วได้คะแนนรีวิวเฉลี่ย 4.8/5 แบบนี้หมายถึงผู้ใช้ “แฮปปี้” กับแอปฯ เราสุด ๆ 🥰


2. Engagement (ความเกี่ยวข้อง): ผู้ใช้งานของเราอยู่กับเรานานแค่ไหน?

Engagement วัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับบริการ เช่น ผู้ใช้เปิดแอปฯ บ่อยแค่ไหน? ใช้เวลาเฉลี่ยกี่นาทีในแต่ละเซสชัน?

ตัวอย่าง KPI

  • Daily Active Users (DAU): จำนวนผู้ใช้ที่ล็อกอินในแต่ละวัน
  • Session Duration: ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ใช้งานอยู่ในระบบ

ตัวอย่าง

  • ถ้าแอปฯ สตรีมมิ่งของเราอย่าง Netflix มีค่า Engagement สูง แปลว่าผู้ใช้ติดใจ ดูซีรีส์กันจนข้ามคืน 😴


3. Adoption (การยอมรับ): มีผู้ใช้ใหม่มากน้อยแค่ไหน?

Adoption วัดจำนวนผู้ใช้ใหม่ที่เข้ามาใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น มีคนสมัครสมาชิกใหม่เท่าไหร่ในเดือนนี้? หรือ มีคนดาวน์โหลดแอปฯ ใหม่เพิ่มขึ้นกี่ครั้ง?

ตัวอย่าง KPI

  • New User Sign-ups: จำนวนผู้ลงทะเบียนใหม่
  • App Downloads: จำนวนการดาวน์โหลดจาก App Store หรือ Google Play

ตัวอย่าง

  • ถ้าเราเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่แล้วเห็นคนสมัครใช้งานเพิ่มขึ้น 20% หมายความว่าฟีเจอร์นั้นดึงดูดผู้ใช้ใหม่ได้ดี🎉


4. Retention (การคงอยู่): ผู้ใช้จะกลับมาใช้งานซ้ำหรือไม่?

Retention วัดความสามารถในการดึงดูดให้ผู้ใช้กลับมาใช้งานซ้ำ เช่น มีผู้ใช้งานกี่เปอร์เซ็นต์ที่กลับมาใช้บริการในเดือนที่ 2? ผู้ใช้ยังคงจ่ายเงินต่ออายุแพ็กเกจหรือไม่?

ตัวอย่าง KPI

  • Retention Rate: เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้ที่กลับมาใช้บริการ
  • Churn Rate: อัตราการเลิกใช้บริการ

ตัวอย่าง

  • หากบริการสตรีมมิ่งของเรามี Retention Rate สูง (เช่น 70%) นั่นแปลว่าผู้ใช้ชอบใจและยังคงดูคอนเทนต์ของเราต่อไป


5. Task Success (ความสำเร็จของงาน): ผู้ใช้ทำสิ่งที่ต้องการสำเร็จหรือเปล่า?

หมวดนี้เน้นประสิทธิภาพของ UX โดยวัดความสำเร็จของการทำงาน ซึ่งก็มีตั้งแต่ ผู้ใช้สามารถซื้อสินค้าในเว็บไซต์สำเร็จได้ง่ายไหม? มีอุปสรรคหรือความล่าช้าในการใช้งานหรือเปล่า?

ตัวอย่าง KPI

  • Success Rate: อัตราความสำเร็จ เช่น 90% ของผู้ใช้ซื้อสินค้าเสร็จในเวลาไม่เกิน 5 นาที
  • Error Rate: อัตราการเกิดข้อผิดพลาด เช่น กดปุ่มผิด หรือระบบล่ม

ตัวอย่าง

  • หากผู้ใช้สามารถจองตั๋วเครื่องบินผ่านแอปฯ ของเราใน 3 นาที แบบนี้ถือว่า UX เราดีเยี่ยม! 🚀


ทำไม Google HEART ถึงสำคัญ?

การใช้ HEART Framework ช่วยให้เรา เข้าใจผู้ใช้ในทุกมิติ ไม่ใช่แค่ว่าผู้ใช้พอใจหรือไม่ แต่ยังเข้าใจลึกถึงพฤติกรรมการใช้งาน และยังทำให้เรา วางแผนพัฒนางานได้อย่างตรงจุด แก้ไข UX ในส่วนที่มีปัญหาได้แบบแม่นยำ รวมถึงเป็นการ เพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ด้วยการออกแบบที่ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้และเป้าหมายธุรกิจด้วยนั่นเอง


ตัวอย่างการวัด Google HEART พร้อม KPI

HEART Elementตัวอย่างตัวชี้วัด (KPI)ตัวอย่างในชีวิตจริง
Happinessคะแนนรีวิวใน App Store (4.5/5)คะแนนรีวิวใน Shopee หรือ Lazada
EngagementDaily Active Users (DAU)คนที่เช็ค Facebook ทุกวัน
Adoptionจำนวนคนสมัครใหม่ต่อเดือนเช่น จำนวนคนโหลดแอปฯ ใหม่ 1,000 คนต่อเดือน
RetentionRetention Rate (50%+ หลัง 1 เดือน)คนกลับมาใช้ Netflix ต่ออายุแพ็กเกจ
Task Successอัตราความสำเร็จ (Success Rate >90%)เวลาใช้ Google Maps นำทางแล้วถึงจุดหมายได้ตรงเวลา

การนำไปใช้กับงานจริง

แอดขอแนะนำว่าถ้ากำลังพัฒนาเว็บไซต์หรือแอปฯ อะไรสักอย่าง ลองเอา Google HEART มาปรับใช้ดู เช่น

  • สำหรับผู้ที่ดูแล UX/UI: วัด Retention และ Task Success เพื่อเช็คว่าผู้ใช้เจอความสะดวกไหม
  • สำหรับสาย Marketing: ใช้ Engagement และ Adoption วัดผลกระทบของแคมเปญก็ได้เลยย

Pro Tip: borntoDev เรามีบริการ UX/UI Consultant ที่จะช่วยคุณวางกลยุทธ์ HEART Framework แบบเชิงลึก สนใจปรึกษาได้เลย 😉

2

แนะนำสำหรับคุณ

Close Menu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า