Skip to main content
0
IT Professionalsการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี

Guideline การนำไปใช้จริง Code vs No-code / Low-code ในองค์กร

👋 วันนี้แอดมีเรื่องฮอตฮิตมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ Guideline การนำ Code vs No-code / Low-code ไปใช้ในองค์กรจริง ๆ กัน เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า No-code หรือ Low-code กันมาบ้างแล้ว แต่จะเอาไปใช้ยังไงดีล่ะ? มาดูกันเลย!

1. เข้าใจความแตกต่างของมันก่อน

ก่อนอื่นเลย เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแต่ละแบบคืออะไร

  • Code การเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิม ใช้ภาษาโปรแกรมมิ่งต่าง ๆ เช่น Python, Java, JavaScript
  • Low-code ใช้เครื่องมือที่มีส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) ช่วยในการพัฒนา แต่ยังต้องเขียนโค้ดบ้าง
  • No-code พัฒนาแอพโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเลย ใช้การลากวางและตั้งค่าผ่าน GUI

เหมือนกับว่าเราจะทำอาหาร Code ก็คือการทำอาหารจากวัตถุดิบสด ๆ Low-code คือการใช้เครื่องปรุงสำเร็จรูปบ้าง ส่วน No-code ก็เหมือนกับการอุ่นอาหารแช่แข็งนั่นเอง 🍳

2. ข้อดีข้อสังเกตของแต่ละแบบ

Code

👍 ข้อดี

  • ยืดหยุ่นสูง ทำอะไรก็ได้ตามที่เราต้องการ
  • ประสิทธิภาพสูง เพราะเราควบคุมทุกอย่างได้

⚠️ ข้อสังเกต

  • ใช้เวลานาน และ ต้นทุนสูงในการพัฒนา
  • ต้องการทักษะสูงในการพัฒนา และ บำรุงรักษา

Low-code

👍 ข้อดี

  • พัฒนาได้เร็วกว่าการเขียนโค้ดทั้งหมด
  • ยังมีความยืดหยุ่นพอสมควร เนื่องจากมีช่องทางสำหรับการต่อยอดได้

⚠️ ข้อสังเกต

  • อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง ตามลักษณะของโปรแกรม
  • ยังต้องการความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมอยู่บ้าง

No-code

👍 ข้อดี

  • พัฒนาได้เร็วมากสำหรับการทำ Product
  • ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม เพราะถูกออกแบบมาให้คนทั่วไปใช้ได้

⚠️ ข้อสังเกต

  • มีข้อจำกัดมาก ทำได้เฉพาะสิ่งที่แพลตฟอร์มรองรับ
  • อาจมีปัญหาเรื่องการ scale ในอนาคตทั้งการรองรับผู้ใช้งาน หรือ การขยายฟีเจอร์ต่าง ๆ

3. เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับองค์กร

ทีนี้มาถึงคำถามสำคัญ แล้วจะเลือกใช้แบบไหนดีล่ะ? 🤔 แอดมีหลักการง่าย ๆ มาฝากกันตามนี้ได้เลย

1. ให้เราลองพิจารณาความซับซ้อนของโปรเจค

  • ถ้าเป็นระบบซับซ้อนมาก ต้องการความยืดหยุ่นสูง → เลือกใช้ Code
  • ถ้าเป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนมาก แต่ต้องการปรับแต่งบ้าง → เลือก Low-code
  • ถ้าเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป ไม่ต้องการอะไรพิเศษ → No-code น่าจะพอ

2. ดูทักษะของทีมที่เรามี

  • มีโปรแกรมเมอร์เก่ง ๆ เยอะ → ใช้ Code ได้เลย
  • มีคนที่พอรู้เรื่องโปรแกรมมิ่งบ้าง หรือ โปรแกรมเมอร์พอมีช่วงเวลาเหลือ → Low-code น่าจะเหมาะ
  • ไม่มีใครเขียนโค้ดเป็นเลย → ลองดู No-code ก่อนได้

3. เวลาและงบประมาณ

  • มีเวลาและงบประมาณเยอะ → Code อาจคุ้มค่าในระยะยาว
  • ต้องการผลลัพธ์เร็ว งบจำกัด → No-code หรือ Low-code น่าสนใจ

4. สำคัญมากก ก็คือแผนในอนาคต:

  • ถ้าคาดว่าระบบจะต้องขยายหรือเปลี่ยนแปลงมากในอนาคต → Code หรือ Low-code ดีกว่า
  • ถ้าเป็นระบบที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมาก → No-code ก็พอ

ลองนึกภาพว่าเราจะสร้างบ้าน ถ้าอยากได้บ้านที่มีดีไซน์เฉพาะตัวสุด ๆ ก็ต้องจ้างสถาปนิกมาออกแบบใหม่หมด (Code) แต่ถ้าแค่อยากได้บ้านธรรมดา ๆ อยู่ได้สบาย ๆ บ้านสำเร็จรูป (No-code) ก็น่าจะตอบโจทย์เช่นกัน โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช่จ่ายอะไรเยอะเลย 🏠

4. ตัวอย่างการนำไปใช้จริง

เอาจริง ๆ แล้วถ้าพูดให้เห็นภาพสุดอยากให้ทุกคนมาดูตัวอย่างกันดีกว่าว่าองค์กรแบบไหน ใช้อะไร ในสถานการณ์ไหนกันได้บ้าง

  1. สตาร์ทอัพเล็ก ๆ ที่ต้องการสร้าง MVP เร็ว ๆ
    → ใช้ No-code platform เช่น Bubble หรือ Webflow สร้างเว็บไซต์หรือแอพง่าย ๆ ได้เลย
  2. บริษัทขนาดกลางที่ต้องการระบบ CRM
    → Low-code platform อย่าง Salesforce หรือ Microsoft Power Apps น่าจะเหมาะ
  3. ธนาคารที่ต้องการพัฒนาระบบการทำธุรกรรมออนไลน์
    → ต้องใช้ Code แน่นอน เพราะต้องการความปลอดภัยและการควบคุมสูง
  4. ร้านอาหารขนาดเล็ก ๆ ที่ต้องการแอพสั่งอาหารของตัวเอง
    → No-code หรือ Low-code น่าจะพอ เช่น ใช้ Glide สร้างแอพจาก Google Sheets ได้เลย

เห็นมั้ยล่ะว่าแต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่ต่างกันไป 🍔🏦🚀

สรุป

การเลือกใช้ Code, Low-code หรือ No-code นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่มีคำตอบตายตัวว่าอันไหนดีที่สุด แต่ถ้าเข้าใจข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ และพิจารณาตามความต้องการขององค์กร เราก็จะสามารถเลือกได้อย่างเหมาะสม

และถ้าเพื่อน ๆ คนไหนสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนโค้ด หรืออยากลองใช้ Low-code platform ต่าง ๆ แอดแนะนำให้ลองดูคอร์สออนไลน์ของ borntoDev นะ เรามีคอร์สที่เหมาะกับทุกระดับ ตั้งแต่มือใหม่ยันโปรเลยล่ะ! 😉

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า