สารจากนักเขียน
ในยุคนี้ต้องบอกได้เลยว่าถ้าจะทำเว็บ ทำแอป ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนถึงระดับองค์กร การเลือกใช้บริการ Cloud แทบจะเป็นตัวเลือกหลักที่ขึ้นมาในหัวของใครหลาย ๆ คนแน่ ๆ
ในยุคนี้ต้องบอกได้เลยว่าถ้าจะทำเว็บ ทำแอป ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น จนถึงระดับองค์กร การเลือกใช้บริการ Cloud แทบจะเป็นตัวเลือกหลักที่ขึ้นมาในหัวของใครหลาย ๆ คนแน่ ๆ
เขียนโดย
Kittikorn Prasertsak (Prame)
Founder @ borntoDev
บทความนี้ตีพิมพ์ และ เผยแพร่เมื่อ 21 กันยายน 2566
ไม่ว่าจะเป็นข้อดีในเรื่องของการจัดการงบประมาณ ที่สมัยนี้ก็ไม่ค่อยมีใครมาเสียเวลาตั้ง Server เอง รวมถึงหาคนมาดูแลกันทั้งวันเองแล้ว จนถึงเรื่องความปลอดภัย ประสิทธิภาพในการทำงานอะไรต่าง ๆ อีกเต็มไปหมด
ซึ่งพอเราคิดว่าจะเลือกใช้ Cloud แล้ว เราก็มาดูกันต่อว่า เราจะใช้บริการกับใคร เจ้าไหน รวมถึงการพิจารณาว่าตัวไหนเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรานั่นเอง
แม้ว่าการใช้บริการ Cloud เหมือนจะง่ายที่มีคนช่วยจัดการ วางระบบโครงสร้างอะไรให้เราหมด แต่การเลือกใช้บริการ Cloud ไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้ง่าย ๆ ในทันที
เพราะหลายครั้งหากเราเลือก และตัดสินใจผิดไป “การที่เราจะขยับขยายในอนาคต” ตลอดจนไปถึง “การย้ายออกจาก Cloud เจ้านั้น ๆ” ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ทันที และมีต้นทุนแฝงต่าง ๆ อยู่เต็มไปหมด
ดังนั้นวันนี้เรามาลองดูปัจจัยที่ควรพิจารณากัน ว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องรู้ก่อนเลือกใช้บริการ Cloud สักเจ้า
ควรมีการทดสอบประสิทธิภาพของ CPU, RAM, และ Disk I/O ในสถานการณ์การใช้งานจริงก่อนนำ Product เราไปวาง ควรตรวจสอบความเร็วของเครือข่ายและ Latency ระหว่าง Data Center และ ผู้ใช้ ว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่
ตลอดจนถึงการตรวจสอบในสถานการณ์ที่ต้องใช้ Performance หนัก ๆ เช่น Load Test เบื้องต้น และการประเมินกรณีระบบของเราอยู่ในช่วง Peak Time ว่าบริการที่ใช้นั้นสามารถรองรับการ Scale รูปแบบใดได้บ้างนั่นเอง
คำนวณค่าใช้จ่ายรวมทั้ง TCO (Total Cost of Ownership) ที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ ลองดูสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในระบบ เช่น เรื่องค่าใช้จ่ายของการใช้ Resource ต่าง ๆ ในระบบ (CPU, RAM จนถึง Storage ที่ใช้) ซึ่งตรงนี้เราสามารถลองดูเบื้องต้นได้เมื่อเข้าสู่ช่วงที่ต้องใช้ Resource สูง ๆ ว่า “ค่าใช้จ่ายมีโอกาสที่จะวิ่งไปสูงได้เท่าไหร่” นั่นเอง
และการคำนวณ ROI (Return on Investment) เมื่อคุณเป็น Product Manager หรือผู้บริหารที่ต้องเลือกใช้ Cloud ให้เหมาะกับต้นทุน และกำไรที่เราจะได้กลับมานั่นเอง
ควรเลือก Data Center ที่ใกล้กับผู้ใช้งานหรือลูกค้า เพื่อลด Latency และ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพอีกทางให้กับระบบ รวมถึงพิจารณาเรื่องของ Data Sovereignty หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูล ซึ่งเรื่องนี้หลายคนมักมองข้าม แต่จะต้องบอกว่ามีความสำคัญมาก ๆ หากเราทำธุรกิจในรูปแบบองค์กรที่ต้องการความน่าเชื่อถือ และลดความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ตรวจสอบระบบความปลอดภัย รวมถึง Encryption, Firewall, และ Identity Management ตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่รู้จักกันทั่วโลกหรือไม่
ตรวจสอบว่าสามารถขยายขนาดของระบบได้ง่ายหรือไม่ ทั้งรูปแบบ Vertical Scaling ที่เป็นการเพิ่ม Spec ของ Cloud ที่เรากำลังใช้ และ Horizontal Scaling ที่เปรียบเสมือนเพิ่มเครื่องมาช่วยประมวลผล และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมากน้อยขนาดไหน
ควรเลือกผู้ให้บริการที่มีทีมสนับสนุนที่สามารถตอบสนองต่อปัญหา และคำถามในเวลาที่รวดเร็ว รวมถึงมีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการให้คำแนะนำระหว่างใช้บริการได้อีกด้วย
หลายครั้งเรามักได้ยินการใช้บริการ Cloud จากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอยู่บ่อยครั้ง แต่ต้องบอกว่าการเลือกใช้บริการ Cloud ไทย ไม่ควรเป็นเรื่องที่ถูกมองข้าม และมีหลายประเด็นที่ทำให้การเลือกใช้บริการ Cloud ในประเทศเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น
การเก็บข้อมูลในประเทศจะช่วยลดปัญหาเรื่องของกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลข้ามชาติ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรที่มีข้อกำหนดเรื่องแหล่งจัดเก็บข้อมูล
ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า หากหน่วยงานเรามีความจำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ในประเทศจริง ๆ (เช่น หน่วยงานรัฐ) การเลือกใช้ Cloud ภายในประเทศถือว่าเป็นตัวเลือกเดียวเลย นอกจากนั้นก็ยังได้เปรียบในเรื่องความเร็วในการใช้งานอีกด้วย
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การใช้บริการ Cloud ในประเทศจะช่วยลด Latency หรือความล่าช้าในการสื่อสารข้อมูล ซึ่งมีความสำคัญสำหรับแอปพลิเคชัน หรือบริการที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว
หลายครั้งต้องบอกตรง ๆ ว่า การใช้บริการ Cloud ต่างประเทศนั้น หลายองค์กร โดยเฉพาะ SME และ Startup ขนาดเล็ก จะพบปัญหาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชำระเงิน, การแปลงค่าสกุลเงินในช่วงอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน ซึ่งตรงนี้ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายแฝงด้วย
ไปจนถึงค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนสกุลเงินต่าง ๆ และการออกใบเสร็จรับเงินที่วุ่นวายในระดับนึงเลย
การใช้บริการ Cloud ในประเทศก็ช่วยมาลดปัญหาเหล่านี้ ทำให้ค่าใช้จ่ายเป็นไปได้ง่ายขึ้น และบางครั้งอาจจะถูกกว่าเมื่อเทียบกับบริการจากต่างประเทศอีกด้วย
การได้รับการสนับสนุนในภาษาไทย และในเวลาที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานในประเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรที่ต้องการการสนับสนุนที่รวดเร็วและเป็นมืออาชีพ
ดังนั้นแล้วการเลือก Cloud ในประเทศมาใช้งานก็จะมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง ที่นอกจากจะช่วยให้องค์กรของเราประหยัดต้นทุนทั้งในเรื่องของการดูแลแล้วยังได้เปรียบในเรื่องความเร็วของผู้ใช้งานภายในประเทศอีกด้วย
หากใครอยู่ในวงการ Internet หรือนักพัฒนาเว็บ นักพัฒนาโปรแกรม ผมมั่นใจว่าหลายคนรู้จักกับ Nipa Cloud อย่างแน่นอน เพราะเขาอยู่มานานมากกก (แบบกอไก่ล้านตัว) ทั้งยังเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อถือในการให้บริการด้าน Cloud Computing เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งทางเลือกหลักที่น่าสนใจมาก ๆ
นอกจากบริการหลักที่ได้รับความนิยมสูงแล้ว ยังมีบริการเสริมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ Support ต่าง ๆ ที่มีทีมงานคอยตอบกลับอย่างรวดเร็ว, เรื่อง Security ต่าง ๆ และบริการ Consult เรื่อง Cloud โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง
อย่างที่ย้ำตั้งแต่ต้นบทความ การเลือกใช้ Cloud ไม่ใช่ของที่เลือกแล้วจะเปลี่ยนหรืออะไรกันง่าย ๆ วันนี้เราเลยอยากพาทุกคนมาดู Whitepaper ของผลการทดสอบต่าง ๆ ด้าน Performance จาก Nipa Cloud กันว่าเป็นยังไง ?
โดยการทดสอบนี้จะใช้วิธีการนำค่าเฉลี่ยของราคาทั้งแบบ Compute Optimized และ General Purpose มาหาอัตราส่วนประสิทธิภาพต่อราคานั่นเอง สำหรับผลลัพธ์ในการวัดประสิทธิภาพของ vCPU ทาง NIPA Cloud เขาก็อ้างอิงมาจากเกณฑ์มาตรฐานของ GeekBench 5 ที่มีความน่าเชื่อถือมาใช้ในการวัดผลครั้งนี้ด้วย
และ การทดสอบในครั้งนี้ ยังได้นำค่าที่ได้จากแต่ละ VM ที่มีการทดสอบมาเฉลี่ย สำหรับ VMs ที่มีขนาดเท่ากันอีกด้วย
ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud
สำหรับผลการทดสอบจะเป็นไปดังภาพข้างต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ให้บริการรายใหญ่ในตลาดระดับ Global ประสิทธิภาพต่อราคาของ Nipa Cloud จะอยู่สูงกว่าประมาณ 1.5 – 2 เท่าเลยทีเดียว
แต่แน่นอนว่าการคำนวณในลักษณะดังกล่าว อาจมีข้อสังเกตว่าประเภท และรุ่นของอุปกรณ์ รวมถึงสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ภายในระบบ Hardware ที่ใช้งานของแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกัน ซึ่งทาง Nipa Cloud ได้ใช้ AMD เป็นหลัก
ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud
ดังนั้นถ้าตัดผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ที่ใช้หน่วยประมวลผลของค่ายอื่นออก เหลือแค่ AMD เหมือนกัน เราก็จะพบว่าประสิทธิภาพต่อราคาที่เราจะต้องจ่ายก็ยังถึงว่าทำออกมาได้ดีมาก ๆ อยู่ดี
ข้อมูลจาก Whitepaper ของ Nipa Cloud
และสำหรับท่านใดที่อยากดูประสิทธิภาพต่อราคาของ Shared Core (เพราะก่อนหน้านี้จะเป็น Dedicated Core ทั้งหมด) ที่มีราคาประหยัดกว่ามาก ก็จะเห็นได้ว่า NIPA Cloud ก็ยังทำออกมาได้ดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่นในตลาดอยู่มากถึง 2 และ 3 เท่าเลยเช่นกันในแง่มุมนี้
การเลือกใช้บริการ Cloudนั้นถือว่าเป็นอะไรที่ดูเหมือนจะง่าย เหมือนว่าแต่ละเจ้าที่เป็น Cloud ก็คือ Cloud เหมือน ๆ กัน
แต่เอาจริง ๆ แล้วจะมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่เต็มไปหมดที่เราจะต้องใส่ใจ เพื่อให้ไม่เป็นปัญหา หรือ Technical Debt ภายหลัง การเลือก Cloud ที่ถูกที่สุด อาจจะไม่ได้ดีที่สุดเสมอไป แต่จะต้องดูไปถึงประสิทธิภาพที่ได้กลับมาด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ในบทความนี้ก็จะเป็นหนึ่งในมุมมองที่หวังให้ผู้อ่านได้มาลองเลือก Cloud ที่เหมาะสมกับการใช้งานของตัวเอง และรูปแบบการทำงานของเรา ซึ่ง NIPA Cloud ก็เป็นอีกหนึ่งผู้ให้บริการที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเลยครับ
พิเศษ! ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ เพียงบอกโค้ด NCS30BTD รับทันทีเครดิตใช้งาน NIPA Cloud Space 3,000 บาท ฟรี! (จำนวนจำกัด) สอบถามเพิ่มเติมโทร 086-019-4000
อ่านบทคัดย่อและดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่
https://nipa.cloud/th/blog/cloud-cpu-benchmark-2022-report
#จบปัญหาดับดาวน์ด้วยคลาวด์จากนิภา #อันดับ1คลาวด์ไทยที่คนเลือกใช้มากที่สุด
*Whitepaper และ ข้อมูลทั้งหมดเกิดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2565 และการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้ใช้การทดสอบที่ data center 2 แห่ง ได้แก่ สิงคโปร์ (Singapore region) สำหรับการเปรียบเทียบ dedicated core และสหรัฐอเมริกา (US region) สำหรับ shared core
** Alibaba Cloud และ Tencent Cloud ณ วันที่หาข้อมูลนั้น ไม่พบฮาร์ดแวร์ AMD ที่ผู้ให้บริการ 2 รายนี้ให้บริการ ดังนั้น ในผลลัพธ์จะมีผู้ให้บริการเพียง 4 รายเท่านั้น
แนะนำสำหรับคุณ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า