Skip to main content
0

สารจากผู้เขียน

หัดทำโปรเจกต์ Flutter เรียกใช้งานจัดการภาพ จะมีวิธีอะไรบ้างไปดูกันเลย

เขียนโดย
Chairawit Iamkhajornchai
Internship @ borntoDev

บทความนี้ตีพิมพ์ และ เผยแพร่เมื่อ 28 มิถุนายน 2566

Flutter เป็น Mobile Application Framework ยอดฮิตที่มีฟีเจอร์และฟังก์ชันมากมายที่ช่วยให้การพัฒนา Mobile Application ได้ง่ายดายขึ้นและรวดเร็ว โดยเนื้อหาเบื้องต้นทาง BorntoDev เราได้ทำบทความสอนไว้ในลิงก์ด้านล่างนะครับ สำหรับบทความนี้เราจะมาโฟกัสในส่วนของการจัดการรูปภาพและเอาภาพมาแสดงกัน

สร้างแอปแรกด้วย Flutter : borntodev.com/2020/07/03/สร้างแอปแรกด้วย-flutter/

ขั้นตอนในการ Setup โปรเจกต์

1. ติดตั้ง Flutter : https://flutter.dev/docs/get-started/install/ เลือกลงใน OS ที่ใช้กันได้เลย

2. จากที่เราได้ดาวน์โหลด แตกไฟล์เรียบร้อยแล้วก็นำโฟลเดอร์ flutter ไปวางไว้ใน Path C:\src

3. จากนั้นให้นำ Path bin ของ Flutter ไปใส่ใน Edit environment variable

4. สำหรับในบทความนี้เราจะใช้ Android SDK Command-line Tools ด้วย โดยการติดตั้ง SDK Tools ตัวนี้ให้ไปที่ Android Studio กด more action เลือก SDK Tools

5. ต่อมาเรามาเตรียม Extension สำหรับใช้ Flutter ในโปรแกรม Visual Studio Code ด้วยการติดตั้ง Flutter และ Dart Extension ก่อนนะครับหลังจากที่เราได้ทำการติดตั้งทั้งสอง Extension เรียบร้อยก็พร้อมที่เริ่มทำการเขียน Mobile Application กันแล้ว

เริ่มต้นสร้างโปรเจกต์

1. เช็คว่า Flutter ติดตั้งทุกอย่างพร้อมใช้งานหรือยังโดยใช้คำสั่ง flutter doctor โดย Flutter Doctor เป็นคำสั่งที่เอาไว้เช็คสภาพแวดล้อมสำหรับ Flutter โปรเจกต์ https://learn.microsoft.com/en-us/sql/ssms/download-sql-server-management-studio-ssms?view=sql-server-ver16

2. สร้างโปรเจกต์ใหม่ใน Flutter ด้วย  Command Prompt ด้วยคำสั่ง `flutter create mygalleryapp` หลังจากนั้นโปรเจกต์เริ่มต้นของ Flutter จะมาให้เราทำการ cd ไปที่ชื่อโฟลเดอร์โปรเจกต์ เช่น `cd mygalleryapp`

3. แล้วใช้คำสั่ง code . เพื่อเปิด Visual Studio Code ทดลองเรียกใช้ Flutter : Launch Emulatorด้วยการกด ctrl + shift + P แล้วพิมพ์ตามรูปดู

4. เลือกอุปกรณ์หรือ Emulator ที่เรามีอยู่

5. หลังจากนั้นตัว Emulator ของเราก็จะแสดงขึ้นมา

6. เสร็จแล้วให้เปิด Terminal ขึ้นมาและใช้คำสั่ง Flutter run จะได้หน้าตา

แต่เดียวก่อนถ้าใครติดปัญหาแบบนี้อย่าพึ่งตกใจไป ให้ทำการ cd Path เข้าไปอีกชั้นหนึ่งของตัวโปรเจกต์ด้วยนะ

7. ต่อมาให้มาที่ไฟล์ main.dart

8. ให้ทำการเคลียร์โค้ดเริ่มต้นในไฟล์ main.dart ออกไปก่อน แล้วมาเริ่มวางโครงของแอปพลิเคชันโดยการสร้างไฟล์ตามโครงสร้างด้านล่าง

- lib
- color.dart
- GalleryPage.dart
- main.dart
- Photo.dart
- PhotoData.dart
- PhotoViewPage.dartUSE MyCompanyDB;
GOtype MyFloat float64
  • color.dart : ไฟล์นี้จะมีโค้ดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและปรับแต่งสี
  • GalleryPage.dart : ไฟล์นี้เป็นส่วนที่นำภาพมาแสดง
  • main.dart : จุดเริ่มต้นของแอปพลิเคชัน ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นที่การดำเนินการเริ่มต้นขึ้น โดยทั่วไปจะมีโค้ดที่เริ่มต้นแอป ตั้งค่าสถานะเริ่มต้น และกำหนดโครงสร้างหลักของอินเทอร์เฟซผู้ใช้
  • Photo.dart : เป็นไฟล์สำหรับแปลง URL ของรูปภาพ
  • PhotoData.dart : เก็บข้อมูล URL ของรูปภาพ
  • PhotoViewPage.dart : ทำให้สามารถดูรูปภาพแบบเต็มได้

 

9. จากนั้นมาที่ไฟล์ main.dart เราจะ Import สิ่งที่ต้องใช้เข้ามาก่อน

import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:myapp/color.dart';
import 'package:myapp/gallery_page.dart';USE MyCompanyDB;

ต่อมาเราจะสร้างหน้า Home ขึ้นมาเพื่อไว้เรียกใช้

class MyApp extends StatelessWidget {
  const MyApp({super.key});

  // This widget is the root of your application.
   @override
  Widget build(BuildContext context) {
    return MaterialApp(
      debugShowCheckedModeBanner: false,
      theme: ThemeData(
        primarySwatch: primary,
        appBarTheme: const AppBarTheme(centerTitle: true),
      ),
      home: GalleryPage(),
    );
  }
}

10.สำหรับใครที่มาถึงขึ้นนี้ แล้วจะเจอ Error ตรง primary จากใน main.dart ไม่ต้องแปลกใจไปเพราะตรงส่วนนี้จะเป็นการเรียกใช้โทนสีโดยเราได้สร้าง color.dart ขึ้นมาอีกตัว เพื่อไว้เก็บข้อมูลชุดสีที่เราจะดึงมาใช้ตรงแถบบาร์ในโค้ดก็จะมีรหัสของชุดสีที่เราเลือกไล่โทนตามระดับสีไป

import 'package:flutter/material.dart';

 const MaterialColor primary = MaterialColor(_primaryPrimaryValue, <int, Color>{
  50: Color(0xFFFEF1E5),
  100: Color(0xFFFCDDBD),
  200: Color(0xFFFAC792),
  300: Color(0xFFF7B066),
  400: Color(0xFFF69F45),
  500: Color(_primaryPrimaryValue),
  600: Color(0xFFF38620),
  700: Color(0xFFF17B1B),
  800: Color(0xFFEF7116),
  900: Color(0xFFEC5F0D),
});

const int _primaryPrimaryValue = 0xFFF48E24;

 const MaterialColor primaryAccent = MaterialColor(_primaryAccentValue, <int, Color>{
  100: Color(0xFFFFFFFF),
  200: Color(_primaryAccentValue),
  400: Color(0xFFFFCAB1),
  700: Color(0xFFFFB997),
});
const int _primaryAccentValue = 0xFFFFEDE4;

11. สำหรับวิธีการดึง Material Design ทุกคนสามารถไปดึงจากที่ : http://mcg.mbitson.com/#!?primary=%23f48e24 และทำการเลือกโทนสีที่เราต้องการได้เลยเมื่อเลือกเสร็จให้ save → Flutter material color แล้วบันทึกโค้ดเอาไว้ได้เลย แต่อย่าลืมที่จะลบ static ออกด้วย

 

12. ทำการสร้าง PhotoData.dart กับ Photo.dart เพื่อไว้เก็บ URL รูปภาพและเรียกใช้รูปภาพเหล่านั้น

 

 PhotoData.dart โค้ดส่วนนี้จะจัดเก็บ URL รูปภาพของเราเอาไว้ใน photos

import 'package:myapp/Photo.dart';

List photos = [
  Photo('https://i.ytimg.com/vi/97hyI5T0Nck/maxresdefault.jpg'),
  Photo('https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSdzssMBO6XlLQ2M_6CPchYM-5BfCkkB5VbnDz78I9ul9y3PZhWJAws5iQO67GPbJ9E4j0&usqp=CAU'),
  Photo('https://www.borntodev.com/wp-content/uploads/2022/05/38033354_1904287879629496_1565701761929314304_n-3.png'),
  // เลือก URL มาใส่ใน Photo ได้เลย
];

Photo.dart โค้ดส่วนนี้จะทำหน้าที่แปลง URL ของรูปภาพมาเรียกใช้

class Photo {
  final String imageUrl;

  Photo(this.imageUrl);
}

13. มาส่วนสำคัญกันเลยกับ GalleryPage.dart ที่ใช้แสดงรูปภาพที่มีโดยเริ่มต้น

import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:cached_network_image/cached_network_image.dart';
import 'package:myapp/PhotoData.dart';
import 'package:myapp/PhotoViewPage.dart';

class GalleryPage extends StatelessWidget {
  const GalleryPage({Key? key}) : super(key: key);
@override
  Widget build(BuildContext context) {
    return Scaffold(
      appBar: AppBar(
        title: const Text('Gallery รูปภาพของฉัน'),
      ),
      body: GridView.builder(
        itemCount: photos.length,
        gridDelegate: const SliverGridDelegateWithFixedCrossAxisCount(
          crossAxisCount: 2,
          crossAxisSpacing: 5,
          mainAxisSpacing: 5,
        ),
  • import : จะเป็นการเรียกใช้งานส่วนต่าง ๆ และประกาศสร้างคลาสขึ้นมา
  • ส่วน Widget build : เราจะทำการสร้างแถบบาร์ของแอปเราขึ้นมาโดยให้ชื่อไว้
  • ส่วน body : เราจะมีการวางโครงจัด Layout เอาไว้เพื่อไว้แสดงรูปภาพ
  • ส่วน itemBuilder นี้เราจะทำการใส่รูปลงไปใน body ที่เราจัดเรียบร้อยแล้ว
itemBuilder: (BuildContext context, int index) {
          final photo = photos[index];
          return GestureDetector(
            onTap: () => _navigateToPhotoViewPage(context, index),
            child: CachedNetworkImage(
              imageUrl: photo.imageUrl,
              fit: BoxFit.cover,
            ),
  • จากนั้นจะสร้าง _navigateToPhotoViewPage เพื่อสร้าง Action ต่อไปเมื่อเกิดการสัมผัสที่รูปภาพ จะไปสู่หน้า PhotoViewPage
void _navigateToPhotoViewPage(BuildContext context, int index) {
    Navigator.push(
      context,
      MaterialPageRoute(
        builder: (_) => PhotoViewPage(
          photos: photos,
          initialIndex: index,
        ),
      ),
    );
  }
}
  • เมื่อทำการเพิ่มฟังก์ชัน _navigateToPhotoViewPage แล้วโค้ดเต็มของไฟล์ GalleryPage.dart จะมีลักษณะดังนี้
import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:cached_network_image/cached_network_image.dart';
import 'package:myapp/PhotoData.dart';
import 'package:myapp/PhotoViewPage.dart';

class GalleryPage extends StatelessWidget {
  const GalleryPage({Key? key}) : super(key: key);

  @override
  Widget build(BuildContext context) {
    return Scaffold(
      appBar: AppBar(
        title: const Text('Gallery รูปภาพของฉัน'),
      ),
      body: GridView.builder(
        itemCount: photos.length,
        gridDelegate: const SliverGridDelegateWithFixedCrossAxisCount(
          crossAxisCount: 2,
          crossAxisSpacing: 5,
          mainAxisSpacing: 5,
        ),
        itemBuilder: (BuildContext context, int index) {
          final photo = photos[index];
          return GestureDetector(
            onTap: () => _navigateToPhotoViewPage(context, index),
            child: CachedNetworkImage(
              imageUrl: photo.imageUrl,
              fit: BoxFit.cover,
            ),
          );
        },
      ),
    );
  }

  void _navigateToPhotoViewPage(BuildContext context, int index) {
    Navigator.push(
      context,
      MaterialPageRoute(
        builder: (_) => PhotoViewPage(
          photos: photos,
          initialIndex: index,
        ),
      ),
    );
  }
}

จากนั้นให้เราใช้คำสั่ง flutter run ใน Terminal ได้เลยนะครับ ถ้ามาถึงตรงนี้กันเราก็จะได้เริ่มเห็นหน้าตา Application เรากันคราว ๆ แล้วว่าจะเป็นประมาณนี้

แต่ในตอนนี้เราจะพบว่ามีว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ก็คือเราไม่สามารถกดเข้าไปดูในรูปภาพได้เพราะฉะนั้นเราจะไปกันที่ส่วนถัดไปว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ยังไง

 

14. ส่วนของ PhotoViewPage.dart สำหรับดูรูป ในแบบเต็ม เราจะเริ่มจากการ Import ส่วนที่จะเรียกใช้และประกาศชุดรูปภาพกับจำนวน

import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:myapp/Photo.dart';

class PhotoViewPage extends StatelessWidget {
  final List photos;
  final int initialIndex;

  const PhotoViewPage({
    required this.photos,
    required this.initialIndex,
    Key? key,
  }) : super(key: key);

15. ต่อมาก็จะทำเหมือนเดิมมี Title บ่งบอกว่าอยู่หน้าอะไรและ Body ที่จัดการแสดงรูปภาพและมีตัวควบคุมให้เราสามารถเลื่อนปัดไปหรือย้อนกลับในลำดับของแต่ละรูปได้

 

@override
  Widget build(BuildContext context) {
    return Scaffold(
      appBar: AppBar(
        title: Text('Photo View '),
      ),
      body: PageView.builder(
        itemCount: photos.length,
        controller: PageController(initialPage: initialIndex),
        itemBuilder: (BuildContext context, int index) {
          final photo = photos[index];
          return Center(
            child: Image.network(photo.imageUrl),
          );
        },
      ),
    );
  }
}

สุดท้ายก็จะได้โค้ดเป็นแบบนี้เลยครับ

import 'package:flutter/material.dart';
import 'package:myapp/Photo.dart';

class PhotoViewPage extends StatelessWidget {
  final List photos;
  final int initialIndex;

  const PhotoViewPage({
    required this.photos,
    required this.initialIndex,
    Key? key,
  }) : super(key: key);

  @override
  Widget build(BuildContext context) {
    return Scaffold(
      appBar: AppBar(
        title: Text('Photo View '),
      ),
      body: PageView.builder(
        itemCount: photos.length,
        controller: PageController(initialPage: initialIndex),
        itemBuilder: (BuildContext context, int index) {
          final photo = photos[index];
          return Center(
            child: Image.network(photo.imageUrl),
          );
        },
      ),
    );
  }
}

 

เพียงเท่านี้เราก็จะได้แอปพลิเคชันที่ไว้สำหรับดูรูปภาพของเรากันแล้ว

สุดท้ายนี้หากใครติดปัญหาตรงไหนสามารถคอมเมนต์กันมาได้เลยนะครับหรือใครที่ทำเสร็จแล้วจะอวดกันก็ส่งมาให้ดูกันได้เลยรอชมอยู่นะ สำหรับใครที่กำลังมองหา Source Code อยากเอาไปลองเล่นสามารถไปโคลนมาลองเล่นได้เลยที่ลิงก์นี้ครับ … : https://github.com/ChairawichZ6/Gallery_App-with-Flutter-by-FookIT.git

ระบบฝึกทักษะ การเขียนโปรแกรม

ที่พร้อมตรวจผลงานคุณ 24 ชั่วโมง

  • โจทย์ปัญหากว่า 200 ข้อ ที่รอท้าทายคุณอยู่
  • รองรับ 9 ภาษาโปรแกรมหลัก ไม่ว่าจะ Java, Python, C ก็เขียนได้
  • ใช้งานได้ฟรี ! ครบ 20 ข้อขึ้นไป รับ Certificate ไปเลย !!
เข้าใช้งานระบบ DevLab ฟรี !เรียนรู้เพิ่มเติม

เรียนรู้ไอที “อัพสกิลเขียนโปรแกรม” จากตัวจริง
ปั้นให้คุณเป็น คนสายไอทีระดับมืออาชีพ

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า