Affinity Mapping สำคัญต่อ UX Research อย่างไร ?ในด้านของการ Research แน่นอนว่าต้องพบเจอกับข้อมูล หรือ User Feedback เป็นร้อยทีนี้แอดมี Tools มาแนะนำสำหรับการจัดการแบ่งหมวดหมู่ผ่านการทำ Affinity Mapping กัน
โดย Pitchaya Tangtanawirut
“To Understand UX , you need to understand people”
Affinity Mapping คืออะไร ?
เปรียบเสมือนเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้เราจัดกลุ่มข้อมูลที่กระจัดกระจายให้เป็นหมวดหมู่ และนำไปวิเคราะห์ในขั้นตอนถัดไปได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพผ่านสัมภาษณ์ หรือ การสังเกตุพฤติกรรมต่าง ๆ
วิธีการทำ Affinity Mapping :
1.ให้ลองทำการเก็บข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งที่เกี่ยวข้องก่อน
ไม่ว่าจะเป็นการทำ Concept Test หรือผ่านแบบสอบถาม นำแต่ละความเห็นมาย่อยมาเป็นทีละชิ้น อาจจะลองใส่เป็น Sticky Notes ใน Figjam ก่อนก็ได้
2.หลังจากนั้น ลองกำหนดสี Post-it หรือแบ่งปัญหาเป็น Theme ต่าง ๆ ดู
สมมติสำหรับเคสแอพการสั่งอาหาร มีผู้ใช้งานสองคนบ่นคล้าย ๆ กันว่า “ในแอพนี้ส่วนลดน้อยจัง อยากให้มีส่วนลดมากกว่านี้” และ “ทำไมถึงไม่มีของรางวัลเหลือมาเลยคะ กด submit ไปหลายรอบแล้ว”
อ่านแล้วก็พอจะเห็นความเชื่อมโยงในหมวดหมู่ของโปรโมชั่นและของรางวัล ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็นอีกหมวดหมู่หนึ่งใน Affinity Map ของเรา
และถ้าเกิดมีข้อมูลจากแหล่งที่เกี่ยวข้อง ก็นำมาจัดใส่ในหมวดหมู่นี้ได้เช่นกันนะ !
3.หลังจากนั้น ลองอ่านดูที่ทอปปิคต่าง ๆ ดูว่ามีจุดไหนที่สามารถเชื่อมโยง หรือ สอดคล้องกันบ้าง
เช่นตอนนี้ เรามีทั้งปัญหาของรางวัล โปรโมชั่น กับ การที่เราไม่มีพาร์ทเนอร์กับหลาย ๆ แบรนด์ทำให้เราไม่อยากซื้อ
จากปัญหาทั้งสองอันข้างบน เชื่อมโยงกันทำให้เกิดเป็น Problem Statement แรกได้ นั่นก็คือ “ผู้ใช้งานไม่ได้รู้สึกมีความต้องการในการซื้อมากเนื่องจากโปรโมชั่นและพาร์ทเนอร์กับแบรนด์อื่น ๆ น้อย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ค่อยเข้ามาเลือกสั่งอาหารกับแพลตฟอร์มของเรา “
ประโยชน์ของการทำ Affinity Mapping ? ทำไมถึงสำคัญ ?
เราอาจจะรู้กันว่าการออกแบบประสบการณ์ที่ดีลกับ ความรู้สึกของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องซับซ้อนอันดับต้น ๆ ของ UX Designer เลยทีเดียว
เพราะบางทีเราไปสัมภาษณ์ผู้คนที่หลากหลาย ต่างคนก็ต่างความเห้นออกไป ทำให้เราอาจจะมาจับใจความสำคัญได้ยาก ว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรแก้ปัญหากันแน่ ซึ่งการแบ่งหมวดหมู่ และ ทำ Mapping นี้ทำให้เราโฟกัสปัญหา และความต้องการได้ตรงจุดมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากจะทำให้จัดกลุ่ม และ โฟกัสปัญหาสำคัญได้แล้ว ยังสามารถทำให้เราเห็นภาพรวมของการจับกลุ่มของข้อมูลหรือ Data โดยรวมด้วยทำให้ขั้นตอนการทำงานในครั้งถัด ๆ ไป ไม่เหนื่อย ถ้าเราอยากกลับมาหา User Insight ก็กลับมาหาที่นี่โดยไม่ต้องมานั่งไล่อ่านใหม่อยู่เรื่อย ๆ ได้เช่นกัน
Tips เพิ่มเติม :
ถ้าเกิดโปรเจกท์หรือสินค้าของเราต้องทำงานกับคนเป็นทีม สามารถให้คนในทีมมาช่วยแปะข้อมูล หรือ ออกความเห็นกันได้นะ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นภายในทีมด้วย !
และสุดท้ายนี้เพื่อน ๆ สามารถลองทำ Affinity Map จาก Figma Community และสามารถ Copy เอาไปใช้งานกับโปรเจกท์ของตัวเองได้ที่นี่เลย !
Figma Community Template 🔗
-
Affinity Map (FigJam) – uxchunks.com
https://www.figma.com/community/file/1157603107047652149
-
Affinity Mapping template (Lacy Goodwyn)
https://www.figma.com/community/file/1152098780608820381
ขอขอบคุณความรู้ดี ๆ จาก
https://www.usertesting.com/blog/affinity-mapping
🥰 และที่สำคัญสามารถติดตามคอนเท้นท์ซีรีย์ Road to UX/UI ในเพจ borntoDev นี้เลย !