Skip to main content
0

กลับมาอีกรอบบบ กับ แอดเปรม และ แอดเอฟเหมือนเดิมม รอบนี้เรามาในงาน Microsoft Ignite 2022 Thailand ในฐานะทั้งคนฟัง และ Speaker กันไปเลยจ้าาา บอกได้เลยว่าวันนี้แน่น ๆ จุก ๆ มากกก

บรรยากาศงานวันนี้มานั่งสบาย ๆ เก้าอี้คนละตัว แต่บอกเลยว่าเนื้อหาไม่ธรรมดาเลยคร้าบ ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง จิ้มมาได้เลย

เขียนโดย
Kittikorn Prasertsak (Prame)
Founder @ borntoDev

Build agility, optimize your business, and create data-driven experiences with Microsoft Azure

Session นี้มาโดยพี่ป้องกัน จาก T.T. Software ที่พูดเกี่ยวกับเรื่องของ Azure Arc ในตอนเริ่มต้น โดยเป็นการเล่าว่าปัจจุบัน เราสามารถเปลี่ยนเจ้าใช้งาน Cloud ได้แล้ว เช่น เราต้องการย้ายจาก Azure ไปใช้เจ้าอื่น ๆ โดยปกติแล้วเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เครื่องมือใหม่ ๆ แต่เครื่องมือเดี๋ยวนี้ใน Azure Arc ช่วยลดระยะเวลาในการเรียนรู้ของเราได้ แถมยังเป็นเหมือนสะพานที่ทำให้ Cloud ที่เราใช้ไร้ขีดจำกัดมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Azure Cosmos ใช้กับ Postgre ได้แล้วนะ แต่ก่อนถ้าเราจะทำเป็น Node ของ DB จะไม่สามารถขยายได้ในรูปแบบ Application Server แต่ตอนนี้สามารถปรับได้แบบเต็มที่แล้วนั่นเอง

Azure Virutal Machine มีการรองรับทุกการใช้งานแล้ว โดยแบ่งเป็น Serires ต่าง ๆ เช่น เราสามารถเลือกเป็นเน้น Memory, Storage หรือ GPU CPU ได้เลย และ ตอนนี้มี Azure Arm-based VMs ให้ใช้แล้วด้วยนะคร้าบ

โดย CPU ARM นี้จะเป็นรูปแบบ 64-bit CPU Core โดยนำไปใช้ Enterprise App ที่ทันสมัยได้ ใช้กับการทำงานแบบ Cloud Native ได้ด้วยเช่นกัน


Deliver efficiency with automation and AI across your business

ต่อกันด้วย Session จากพี่พล Nextflow ในเรื่องของ Digital perseverance ที่เกี่ยวกับการที่เราใช้งาน และ วางระบบเกี่ยวกับ IT ว่าเราสามารถ Shift หรือ ย้ายไปสู่วิธีการ หรือ การแก้ปัญหาใหม่ ๆ ได้อย่างไร

โดยในวันนี้มีเคสที่มาเล่าคือ “ถ้าเราเป็นสายการบินที่จะ Validate ว่าพนักงานทั้งหมด 30,000 คนจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก่อนทำงาน” ซึ่งดูแล้วเหมือนจะไม่มีอะไร แต่ปัญหาเกิดตรงที่ถ้าเราแก้ด้วยการสร้างแอป เราก็จะต้องเทรนคน มีขั้นตอนอะไรเต็มไปหมด จนไปถึงการจัดการ Form ที่แต่ละ รพ. ก็มีหน้าตา Form ที่แตกต่างกันอีก

“คำถามคือถ้าใช้คนจะใช้เวลาเท่าไหร่” … สำหรับการใช้ Azure AI ทั้งหมดนี่ใช้เวลาแค่เพียง 1 เดือนเท่านั้น

โดยนี่เป็นตัวอย่างตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในบริษัทด้วย AI ซึ่งประเด็นหลักของปีนี้ก็มีเครื่องมือทั้ง Azure Open AI, Azure Cognitive และ

ต่อมามีการแนะนำให้รู้จักกับ DALL-E ที่เป็น AI ที่ Microsoft ได้เข้าร่วมพัฒนาในโครงการ Open AI ของ Elon Musk โดย MS ได้เข้าไปลงทุนสูงถึง 1 พันล้านดอลล่าห์

โดยใน Azure OpenAI Service นี้เป็นการร่วมด้วยช่วยกัน Train AI จนได้กลายมาเป็น Model ที่ไว้ใช้ทั้งแปลภาษา, ดูอารมณ์จากข้อความต่าง ๆ ต่อมามีการแนะนำ OpenAI Codex เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ชีวิตและโลกของเราเปลี่ยนไปได้เยอะ

หนึ่งในนั้นคือ GitHub Copilot ที่ช่วยให้เราสามารถ Generate Code ให้เราได้จากการพิมพ์ภาษาคน แต่ในอีกมุม OpenAI Services ตรงนี้ก็มีมาช่วยเหล่า No-code หรือ Low-code

ในการสร้างสรรค์แอปพลิเคชันของเราได้นั่นเอง ซึ่งมีการใช้งานทั้งใน Power Platform ที่แปลงข้อความที่เราพิมพ์ว่าเราอยากได้ฟอร์มแบบไหน ทำงานยังไงต่อ แปลงไปเป็น Code ได้ และ ใช้ Open AI สร้าง UI ใน PowerBI ได้ด้วยนั่นเอง คือครบจบในทุกงาน ไม่ใช่แค่ Develop อะไรสักอย่าง

ช่วยในการเขียนบทความได้ ช่วยในการ Query ข้อมูลจากเดิมต้องนั่งเรียน Syntax ก็ใช้แค่ภาษาคนเท่านั้น และ ไม่ใช่แค่โยนของให้เขา แล้วให้เขาส่งมาอย่างเดียว แต่สามารถปรับจูนได้เต็มที่ โดยการเหมือนพิมพ์คุยเพื่อทำการสอนนั่นเอง

และ ตัว Open AI Services ไม่ได้มีแค่การให้ข้อมูลนะ แต่ยังมีการคำนึงเรื่องศีลธรรมต่าง ๆ ด้วยนั่นเอง ต่อจาก Open AI ก็มีการพูดถึง Cognitive Service โดยรองรับการฟัง การพูดจากคน โดยตอนนี้มีการอัพเดตรองรับภาษาไทยแล้วนั่นเอง

โดยที่รองรับในส่วนของ Language Services คือ สามารถสรุป วาระการประชุมได้ รวมถึงใช้ใน Contact Center Platform ที่ช่วยในการคุยกับลูกค้าได้ ดูได้ว่าลูกค้ารู้สึกพอใจ เฉย ๆ หรือยังไงก็ได้ โดย HP ได้นำระบบนี้ไปใช้แล้ว ที่มีคนโทรมา มาดูกันว่าลูกค้าคือใคร ใช้เสียงยืนยันตัวตนต่าง ๆ และ เข้าใจอารมณ์ลูกค้า แสดงรายชื่อ เพื่อโอนสายให้ได้


Re-energize your workforce in the office, at home, and everywhere in between

Session นี้มากับคุณเบิร์ด MVP Skill และ พี่ Mike Thanachart ที่เกี่ยวกับเรื่อง Microsoft 365 โดยมีของมาใหม่คือตัว Designer, Stream (ก่อนหน้านี้เป็นแค่ตัว Storage Video แต่ตอนนี้สามารถเล่น, อัดหน้าจอ, ตัดต่อวีดีโอต่าง ๆ ลงไปได้นั่นเอง)

โดยมารอบนี้ Microsoft ก็เปลี่ยนชื่อหลาย Product เหมือนกัน โดยในนี้ก็ใช้เป็น Microsoft 365 เฉย ๆ แทน Office แล้วจ้า ต่อมาอยู่กับ Microsoft Team Premium ที่เป็น Product ตัวใหม่ของ MS เลย โดยมีกลุ่มฟีเจอร์ที่ใช้สร้างการประชุมแบบ Personalized, เอา AI มาใส่ในการประชุม, Secure ที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

การใช้ทำสัมนาออนไลน์ Webinars หรือ Meeting ขนาดใหญ่ก็สามารถทำได้แล้วจ้า สำหรับการทำ Personalized พวกการตั้งค่า Option เช่น ต้องมีห้อง Watting room ก่อนหน้านี้จะต้อง Setting ทุกครั้งที่เข้า Meeting ในตอนนี้สามารถกำหนดได้แล้วว่า เข้ามาห้ามเปิดกล้อง หรืออะไรทำนองนี้ได้เลย โดยหนึ่งคนสามารถมีได้หลากหลาย Profile ได้เลย

การทำ Meeting เดี๋ยวนี้ฉลาดขึ้นมาก เช่น การเก็บประวัติไว้ได้เลยว่ามีใครพูดถึงเราช่วงไหน เราออกจากมีตติ้งตอนไหน เวลาดูย้อนหลังสามารถกลับมาดูได้อย่างถูกจุดเลยนั่นเอง จนไปถึงเรื่อง Security เช่น มีการวางลายน้ำทับมาเลยว่าเป็นใคร ชื่ออะไรที่แคปหน้าจอเราไป หรือ ดูระหว่างประชุม สำหรับงานที่เป็นความลับ หรือ พวก NDA ต่าง ๆ ได้เลย

นอกจากนี้ Meeting ยังมีการส่งยิง Calendar ที่สามารถใช้งานรูปแบบ Vurtual Appointment ได้ ไม่ต้องผ่านแอป จนไปถึงการทำ Advanced Webinars ที่มีฟังก์ชันการลงทะเบียน ออกเมลเตือน User และมี Waiting List ได้ด้วย มีการทำการ Approve และ Confirm ได้

Mesh avatar ในปัจจุบันสามารถใช้ได้แล้วนะ เป็นรูปแบบหน้าตา Avatar ระหว่าง Meeting หรือ ประชุม คุยงานแทนตัวเราได้เลย แต่ใน Version นี้พวกหน้าตา Guesture ในการเคลื่อนไหวไม่ได้ขยับตามนะ

ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตอนนี้มี Microsoft Place แล้วด้วยนะ มีการบอกว่าใครเข้าออฟฟิศ หรือ นั่งที่ไหน อยู่ตึกไหน เวลาคุยงานหรือทำงาน Collaborate กันก็จะง่ายขึ้นนั่นเอง

รวมถึงของใหม่ที่เน้น ๆ ในปีนี้อย่าง Viva ที่เป็น Propose, Growth, Insights และ Connections ตัวแรกคือ Viva Goals กำหนดหัวข้อ หรือ OKRs ต่าง ๆ มาใส่ได้ , Viva Learning ที่มี Course ฝั่ง LinkedIn ทั้งหมดมาให้หมดเลย มีการ Assigned คอร์สต่าง ๆ ให้พนักงานภายในได้, สามารถใช้ร่วมกับ Viva Topics ได้ ส่วนการทำ Insight และ Connection ก็ช่วยให้เราเห็นข้อมูลภายใน และ การสื่อสารกับพนักงานในวงกว้างได้ง่ายขึ้นนั่นเอง


Accelerate innovation with the world’s most complete cloud developer platform

Session แรกทางผม (เปรม @ borntoDev) Writer บทความนี้ขึ้นไปพูดเองนั่นเอง โดยในส่วนนี้จะมีการพูดสองหัวข้อใหญ่คือ จักรวาลของ Visual Studio และ จักรวาลของ GitHub นั่นเอง

โดยเริ่มที่ Visual Studio 2022 17.3 ที่เป็นรุ่นปัจจุบันที่มาพร้อมเครื่องมือแบบจุก ๆ เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ C++ ที่เร็ว แรงขึ้นเป็นเท่าตัวจากรุ่นก่อน 17.2 เลย และ ยังมีการปรับให้รองรับกับชาว C++ ที่นำไปเขียนต่อกับ Hardware ด้วยการมี Serial Monitor มาให้ด้วยจ้า (จริง ๆ มีให้ทั้ง Visual Studio ตัวใหญ่ และ VS Code ก็มีนะ) เราสามารถดู ส่งข้อมูล คุยกับ Hardware ได้ง่ายขึ้นเลย

อัพเดตอื่น ๆ ที่น่าสนใจเช่น การต่อ และ deploy กับ Azure Container Apps ก็ทำง่าย ๆ แค่ “คลิกขวา” แล้วกด “Publish” เท่านั้น พอจบในส่วนนี้เราก็มาต่อกันในเรื่อง Live Unit Testing ที่ทำให้การทำ Unit Testing ง่ายยิ่งขึ้น จากเดิมเราต้องคลิกนู่นนี่ ตอนนี้แสดงแบบไลฟ์ทันทีที่เราแก้ไข Code แล้วนั่นเอง แอบกระซิบบอกว่ารองรับงานขนาดใหญ่ด้วยนะ

รวมถึงฟีเจอร์ Git Line-staging ที่มีการแสดงผลอัพเดต การแก้ไข เพิ่มเติม หรือ ลบ Code ต่าง ๆ ที่เราทำใน Git เข้ามาให้ใน Visual Studio ให้เลย, การเปิด Tab แบบ Multiple Rows ได้แล้ว เวลาเปิด tab เยอะ ๆ ใน VS ก็จะมาสร้างแถวใหม่ให้เลย

รวมถึงของเด็ดคือ IEnumerable Debugger Visualizer Improvements ที่เราสามารถดู Data ที่อยู่ภายใน Object หรือ Collection ที่เราสร้างไว้ได้นั่นเอง และ ฟีเจอร์เล็ก ๆ ที่ช่วยชีวิตเราได้อย่าง “Reopen Closed Documents”  ที่ช่วยเราตอนที่ดันลืมว่าเมื่อกี้ปิด Tab ไหนไปได้นั่นเอง

และ ฟีเจอร์ที่ได้รับการอัพเดตใหญ่ ๆ อย่าง .NET Multi-platform App UI ก็มีพูดในงานนี้ด้วยนะ เวลาพัฒนา .NET MAUI ก็รวมกันใน Project เดียวได้แล้ว มีการรองรับ Visual & Live แก้อะไร แสดงผลออกมาแบบไหน ก็ออกมาได้หมด รู้หมด Size เท่าไหร่ สีออกมาเป็นอย่างไร

สุดท้ายในฝั่ง Visual Studio คือ IntelliCode ที่ของใหม่แกะกล่อง แนะนำชื่อตัวแปร แนะนำการ Refactor ได้ด้วย ! ถ้าคุณคิดว่า IntelliSense เจ๋งแล้ว อันนี้โหดจัดเลยจ้า

เมื่อจบเรื่องของ Visual Studio มาอยู่ในส่วนของ GitHub กันต่อเลย กับงาน GitHub Universe 2022 ที่เริ่มต้นด้วยการพูดถึง GitHub Copilot ที่ช่วยเหล่า Dev ให้ทำงานได้ Productive ขึ้นกว่า 50% และ ในอนาคตก็ยังสามารถทำได้มากกว่านี้อีกเยอะ เช่น รองรับการสั่งงานด้วยเสียงให้เขียนโค้ดแล้วนั่นเอง อีกหน่อยแค่พูด เขาก็เขียนโค้ดให้เองได้เลยจ้า

และ เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เราสามารถเขียนตัว Markdown เพื่อสร้าง UI เช่น checkbox ได้แล้ว หรือ เรื่องของความปลอดภัย เช่น ให้สิทธิ์ใครไป และ กำหนดได้ว่าสิทธิ์นั้นจะหมดในกี่วัน ๆ ได้เลย ⚡️

ยังมีของดีที่น่าสนใจมาแนะนำอีกตัวกับ Microsoft Dev Box บริการหนึ่งในเครื่อ Azure ที่เป็นเหมือน VM ที่รันบน Azure ที่ทำมาให้พร้อมโค้ดแล้ว ช่วยลดปัญหาข้อจำกัดในการตั้งค่าที่ยุ่งยากและการจัดการ secure ทำให้พร้อมที่จะโค้ดและจัดการโปรเจกต์นั้น ๆ โดยเฉพาะได้ นอกจากนั้นยังมีอัปเดตใหม่ ๆ ของ Azure App Service อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการเพิ่ม SKU ที่มีตัวเลือกมากขึ้น การแจ้งเตือนก่อนล่วงหน้า 14วันก่อน ASEv3 จะมีการบำรุงรักษา และเพิ่มการรับรับรันไทม์เวอร์ชันใหม่ ๆ ทั้งที่เป็น .NET 7, Python 3.11 กับ 3.10, PHP 8.1 กับ 8.2 และ node.js 18 พร้อมยังรองรับภาษา Go แบบ native อีกด้วย

 

Session ครึ่งหลังมากับฝั่ง Low Code Platform ที่มีมาครบกระบวนการ เช่น Power Automate ที่เราสามารถสั่งงาน AI ได้ด้วยภาษาที่มีขั้นตอน เช่น การบอกว่า ช่วยส่งอีเมลให้ฉันทีในทุก ๆ x วัน ก็ทำได้ หรือ การทำการสร้าง Expression จากตัวอย่างข้อความที่เราใส่เข้าไปก็ได้เช่นกัน ไม่ต้องไปนั่งจำ Expression ที่เป็นเหมือนภาษาต่างดาวแล้วว ~

และ ปัจจุบันมีการอัพเดตที่ทำให้เราสามารถดู และ แก้ไข Report ของ Power BI ผ่าน OneDrive และ SharePoint ได้แล้วผ่าน Cloud ไม่ต้องลง ไม่ต้องติดตั้งอะไรทั้งนั้นเลย

ต่อมากับฟีเจอร์ที่เป็นการแชร์ External Data ใน Power BI ถ้าจะแชร์นอกองค์กรก็สามารถจัดการได้ และ หน้าตาของ Power BI จะมีการอัพเดตที่สามารถเห็นชิ้นงานที่แชร์กับเราได้ และ ฝั่ง Power BI ในตอนนี้มีการรองรับข้อมูลขนาดใหญ่ ให้ครบจบแล้วนะ

ถ้าหากใครอยากจะสร้าง Power Apps ร่วมกันในตอนนี้สามารถทำได้แล้วนะ โดยทั้งหมดนี้จะเน้นในเรื่องของการจัดการที่ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ให้มองเห็นได้ง่ายขึ้น, จัดการ Control ได้ง่ายขึ้น โดยใช้แรงน้อยลง


Protect everything, everyone, everywhere with comprehensive security

มาอยู่กับ Session เรื่องของความปลอดภัยกับทาง MVP ของ Microsoft ที่พูดถึงเรื่องของการใช้งาน Cloud ใด ๆ ก็แล้วแต่ เราจำเป็นต้องโฟกัสเรื่องของความปลอดภัยด้วย เพราะบาง Setting นั้นถูกเปิดโดย Default ที่ไม่ปลอดภัยอยู่ก่อน (ที่ไม่ใช่แค่ Server มันยัง Running อยู่ไหม)

ตัว Microsoft Defender for Cloud เราสามารถใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยได้ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ถึงว่าระบบ หรือ งานเราในตอนนี้มีความสุ่มเสี่ยง หรือ ช่องโหว่ตรงไหนไหม ก่อนนำไปขึ้น Production จริง

โดย Session นี้เจ่งมาก มีการ Demo ให้ดูด้วย เป็นการตรวจว่ามีปัญหา หรือ มีความสุ่มเสี่ยงด้านความปลอดภัยจุดไหนบ้างนั่นเอง ซึ่งไม่ได้มีแค่ตัวเดียวนะ มีมาเป็นลิสต์รายการแบบจุก ๆ เลย และเขายังมี Security Score ให้ดูด้วย โดยสูงสุดที่ 100% คือความปลอดภัยสูงสุด (มีลูกค้าบางเจ้าอาจจะ request ได้เลยว่าห้ามต่ำกว่า 70% เป้นต้น ก็สามารถทำได้)

หากเรามีหลากหลาย Subscription ไหน ก็สามารถดูทีละตัว หรือ ดูแยกได้เลยว่าอันไหนปลอดภัยยังไงบ้าง

นอกจากเรื่องความปลอดภัยนั้น ยังมีการดูได้ด้วยว่าเป็นไปตาม Best Practices ของ Microsoft ไหม หรือ เป็นไปตาม Compliant ที่ลูกค้าได้ Request มาไหม ก็ทำได้เลย ซึ่งหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าการใช้งาน Report ตรงนี้เข้าดูได้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วยนะ สำหรับ Defender CSPM

นอกจากการสแกนแล้ว ยังมีการแจ้งเตือน Notification ให้เราเห็นได้ด้วยนะ ว่ามีความเสี่ยง หรือ เรากำลังโดนโจมตีจากอะไร เช่น การแจ้งว่ามีการเดา Password เข้ามา และ มีการบอกด้วยว่าพยายามเดาจาก User ใด

และ เขายังมีเครื่องมือที่ Generate สร้าง Route Path ให้เราดูได้ด้วยนะว่า Hacker เข้ามาผ่านช่องทางใด ผ่านอะไรมาถึงเข้ามาในหน้านี้ได้ ก็สามารถทำได้ ซึ่งปกติเราต้องไปนั่งไล่ นั่งวาดเอง แต่เดี๋ยวนี้ทำให้ครบจบเลยจ้า เจ๋งมากกก


หากคุณสนใจพัฒนา สตาร์ทอัพ แอปพลิเคชัน
และ เทคโนโลยีของตัวเอง ?

อย่ารอช้า ! เรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลเพื่ออัพเกรดความสามารถของคุณ
เริ่มตั้งแต่พื้นฐาน พร้อมปฏิบัติจริงในรูปแบบหลักสูตรออนไลน์วันนี้

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า