สำหรับเพื่อน ๆ ที่เขียนโปรแกรม Python มาถึงทุกวันนี้ หากคุณกำลังเบื่อในการใช้ Print ในการ Debug Code อยู่ละก็ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำให้ทุกคนลองใช้ ไอติม ในการ Debug โค้ดของพวกเราดูบ้าง (นอกจากคุยกับเป็ดยางจนเพื่อนร่วมงานกลัวแล้ว หวานเย็นแสนอร่อยก็สามารถ Debug ได้ด้วยอย่างนั้นรึ หน่านิ๊ !!!)
ซึ่งไอติมที่ว่านี้ ไม่ใช่หวานเย็นสุดแสนอร่อยแต่อย่างใด แต่มันคือ Python Library ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ Debug โดยเฉพาะเลย จะมีเนื้อหาเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยยย !!!
เขียนโดย Natakorn Hongharn -BorntoDev Co., Ltd.
ที่ผ่านมา โดยปกติแล้วแอดจะชอบใช้ Print ในการ Debug บ่อยมากกก ซึ่งบางทีเวลาทำงานเสร็จแล้วต้องมาคอยไล่เช็คลบ Print ที่แอดไว้ใช้ Debug ออก ดีไม่ดีไปลบอันที่แอดจะไว้ใช้แสดงผลต่างหากเอง T^T
ซึ่งโดยปกติแล้ว เวลาจะ Debug ด้วย Print แอดจะทำประมาณนี้:
num1 = 44 num2 = 112 print(num1) print(num2)
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ:
44 112
จากที่เห็น เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ค่าที่แสดงออกมานั้น คือค่าของตัวแปร num1 หรือ num2 กันแน่ (ถ้าเราไม่รู้ว่าเขียนเรียงเป็นลำดับ)
เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องเขียนบอกไว้ด้วยว่า นี่เป็นค่าของตัวแปรอะไร:
num1 = 44 num2 = 112 print('num1', num1) print('num2', num2)
ผลลัพธ์ที่ได้คือ:
num1 30 num2 40
จะเห็นได้ว่ามันดูดีขึ้นเยอะเลย แต่ลองคิดภาพตอนเราต้องมานั่งใส่ชื่อตัวแปร ทุกครั้งที่เราจะ Debug ดูสิ (อ๊าาา มันเยอะเสียรึเกินนน !!!)
ทีนี้ก็ถึงเวลาเฉิดฉายของไอติมเราแล้ว ซึ่งถ้าแอดใช้เจ้าไอติมนี้มา Debug จะได้แบบนี้:
num1 = 44 num2 = 112 ic(num1) ic(num2)
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ:
ic| num1: 44 ic| num2: 112
จะเห็นได้ว่า ปังสุด ๆ !!!
แล้วไอติมที่พูด ๆ มานี่ สรุปแล้วมันคืออะไรล่ะ ??
Icecream คือ Python Library หนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับการทำ Debugging ที่จะแสดงผลลัพธ์ออกมาให้ชาวเดฟอย่างเราอ่านได้อย่างง่ายดาย
สำหรับวิธีการติดตั้งก็ทำได้ตามนี้เลย:
$ pip install icecream
ทีนี้เรามาลอง Debug เจ้าตัว Python Function กันดูบ้างดีกว่า
from icecream import ic def plus_one(num): return num + 1 ic(plus_one(12)) ic(plus_one(13))
ผลลัพธ์ที่ได้:
ic| plus_one(12): 13 ic| plus_one(13): 14
สำหรับเจ้า ic แล้ว เราจะไม่ได้แค่เห็นเพียงแค่ Output ออกมาเท่านั้น เราจะสามารถเห็น Function และค่าที่ใส่เข้าไปใน Argument ได้ด้วย
นอกจากใช้ในการตรวจสอบค่าต่าง ๆ แล้ว เราสามารถใช้เช็คว่าโค้ดได้ไปรันในส่วนไหน (ตรวจสอบการดำเนินการ) ได้ด้วยนะ
from icecream import ic def hello_Too(พร้อมลาออกยัง:bool): if พร้อมลาออกยัง: print("อะไร ทำไม หะ ปัดโธ่ กูไม่ออก แบร่ ๆ !!!") ic() else: print("ผมออกแล้วใครจะทำ ไม่ออก !!!") ic() hello_Too(พร้อมลาออกยัง=True)
ผลลัพธ์:
อะไร ทำไม หะ ปัดโธ่ กูไม่ออก แบร่ ๆ !!! ic| ความเจริญ.exe.py:6 in hello_Too() at 00:55:44.331
จากด้านบนจะแจ้งว่า โค้ดได้เข้าไปทำงานในส่วนของบรรทัดที่ 6 ใน hello_Too() นั่นเอง
อีกทั้งเราสามารถตั้งค่าตัว Prefix เองได้ด้วยนะ:
from datetime import datetime from icecream import ic import time def time_format(): return f'{datetime.now()}|> ' ic.configureOutput(prefix=time_format) for _ in range(3): time.sleep(1) ic('Baby Too')
ผลลัพธ์ที่ได้:
2021-11-11 09:08:03.313513|> 'Baby Too' 2021-11-11 09:08:04.724165|> 'Baby Too' 2021-11-11 09:08:05.931345|> 'Baby Too'
เวลาเราทำงานเสร็จแล้วจะเอา Debug ออกก็ทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่ค้นหา (Ctrl + F) แล้วลบตัว “ic(” ออกไปให้หมดเท่านั้นเอง (ถ้าใช้ Print ในการ Debug ต้องมานั่งตรวจอีกว่านั่นใช่ส่วนของ Debug ไหมนะ)
ท้ายที่สุดนี้ สำหรับเจ้าตัว Icecream ถือว่ามีประโยชน์มากเลยทีเดียว เป็นอีก 1 ทางเลือกไว้ใช้สำหรับการทำ Debugging แอดมินเชื่อว่าเจ้าตัว Library นี้จะช่วยมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้กับทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้ด้วยนะครับ