รู้มั้ยว่ารอบตัวเรามีค่า Boolean อยู่รอบตัวนะ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่เปิดสวิทซ์ไฟ ถ้าเรากดเปิดไฟทำให้ค่าความจริงเป็นจริง ไฟก็จะเปิด หรือตอนที่เราแอบเปิดปิดตู้เย็นตอนดึกๆ ไฟก็ติดดับเช่นกัน ซึ่งค่า Boolean เหล่านี้มีประโยชน์มากๆ ในการเขียนโปรแกรมหรือสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ให้สิ่งที่เราสร้างออกมาเป็นไปตามเงื่อนไขที่เราต้องการ ซึ่งตัวที่ใช้จัดการข้อมูลด้านตรรกศาสตร์ในทางอิเล็กทรอนิกส์จะเรียกว่า Logic Gate นั่นเอง
ตัวอย่าง “Gate” ธรรมดาทั่วไป
Logic Gate หรือแปลไทยว่า ประตูสัญญาณตรรกะ เป็นตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ที่ประมวลผลฟังก์ชันทาง boolean โดยจะรับ input เป็น bit 1 หรือ 0 แทนค่า True และ False และจะนำไปประมวลผลเพื่อหาค่า bit ตามประเภทของเกตซึ่งจะเหมือนกับ operator ในการเขียนโปรแกรมเลย ได้แก่ AND, OR, NOR, NOT นั่นเอง โดยเกตพื้นฐานจะมีอยู่ 7 แบบนั่นคือ
NOT Gate
เป็นเกตที่ให้ค่าตรงกันข้ามกับค่า input ที่ใส่เข้าไปเสมอ
AND Gate
เป็นเกตที่ให้ค่า bit 0 ถ้ามีค่า input ใดๆเป็น 0 และให้ค่า 1 ถ้า input ทั้งหมดเป็น 1
OR Gate
เป็นเกตที่ให้ค่า 1 เสมอถ้ามี input ใดๆเป็น 1 และให้ค่า 0 ถ้าไม่มีตัวใดเป็น 1 เลย
NAND Gate
เป็นเกตที่ตรงกันข้ามกับ AND คือ ถ้ามี Input ใดๆเป็น 0 จะให้ค่า 1 และถ้า input เป็น 1 ทั้งหมดจะให้ค่า 0
NOR Gate
เป็นเกตที่ตรงกันข้ามกับ OR คือ ถ้ามี Input ใดๆเป็น 1 จะให้ค่า 0 และถ้า input เป็น 0 ทั้งหมดจะให้ค่า 1
XOR Gate
หรือเรียกว่า Exclusive OR เป็นเกตที่ถ้า Input แตกต่างกันจะให้ค่า 1 และถ้า Input เหมือนกันจะให้ค่า 0
XNOR Gate
เป็นเกตที่ตรงกันข้ามกับ XOR คือ ถ้า Input แตกต่างกันจะให้ค่า 0 และถ้า Input เหมือนกันจะให้ค่า 1
เกตเหล่านี้มีประโยชน์มากๆ ในการผลิตอุปกรณ์ต่างๆให้เราใช้ เมื่อเรานำเกตมาต่อกันเป็นรูปแบบที่เราต้องการจนมีการทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น ก็จะได้ออกมาเป็นแผงวงจรในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราใช้กันนั่นเอง ซึ่งนอกจากการให้สัญญาณไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว อีกตัวอย่างที่ใช้ค่า Boolean เหมือนกันก็คือ พวกเซนเซอร์ต่างๆ เช่น แสง ความร้อน นั่นเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์ที่ตอบสนองต่อ Input จากเซนเซอร์
ข้อมูลจาก