ในยุคปัจจุบันการที่จะพูดว่า Data มีค่ามากกว่าทองนั้น ไม่ใช่คำพูดที่เว่อร์หรือเกินความจริงไปซะทีเดียว เพราะเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้เราสามารถรู้อะไรได้หลายอย่างที่เป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ช่วยให้เราเห็นโอกาสในการลงทุนหรือช่วยในการตัดสินใจเชิงธุรกิจผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือคือ Data Analytics นั่นเอง
แล้ว Data Analytics ที่กล่าวมานั้นคืออะไร มาดูกัน!
คืออะไร?

ถ้าเราเปิดคำว่า Data Analytics ใน Wikipedia(https://en.wikipedia.org/wiki/Analytics) เขาได้ให้ความหมายไว้ว่า
“ระบบทางคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถิติ ใช้สำหรับการค้นพบ ตีความ และเชื่อมโยงรูปแบบที่มีความหมายของข้อมูล ซึ่งรูปแบบข้อมูลนั้นจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ”

ความสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลคำนี้ๆสำหรับยุคนี้แล้วไม่ว่าใครก็ต้องรู้จัก ไม่ว่าจะบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือเจ้าของธุรกิจเล็กๆที่เพิ่งถือกำเนิดต่างก็สนใจและใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมันช่วยให้เรารู้สิ่งที่เราต้องการรู้จากข้อมูลที่เคยเกิดขึ้น สินค้าชนิดใหม่ตัวนี้ถ้าทำขึ้นมาผู้คนจะสนใจหรือใหม่? หรือถ้าทำธุรกิจลักษณะนี้ต่อไปจะไปรอดหรือไม่? ซึ่งมันจะช่วยทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้โดยที่ไม่ต้องเสี่ยงลองผิดลองถูกเองผ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วให้ออกมาในรูปแบบของข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายเช่น กราฟ แผนภูมิต่าง ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงานได้อีกด้วย
ตัวอย่างการใช้งาน
สมมุติว่าเราเป็นเจ้าของร้านขายของแห่งหนึ่งที่อยากกระตุ้นยอดขายให้ได้มากยิ่งขึ้น แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรดี เนื่องจากระบบสมาชิกอยู่แล้วทำให้เรามีข้อมูลว่าลูกค้าของเราเป็นใครบ้างและลูกค้าเหล่านั้นซื้ออะไรไปบ้าง แต่ถ้าจะให้เรามาดูข้อมูลเองนั่งจดและวิเคราะห์เองก็เป็นไปได้ยาก เพราะข้อมูลที่เรามีนั้นมีเยอะมากๆ แค่ 100 ข้อมูลก็อาจจะดูไม่ไหวแล้ว เผลอๆอาจมีถึงพันหรือไปจนถึงหมื่นเลยก็ได้
การวิเคราะห์ข้อมูลจึงมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ ถ้าเราอยากเคลียร์สินค้าที่ขายไม่ค่อยออกหรือไม่เป็นที่นิยม เราก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าสินค้าที่เราสนใจนั้นมีสินค้าตัวไหนบ้าง เราอาจจะจัดโปรโมชั่นสินค้าตัวนั้น เปิดการทดลองใช้ให้ผู้คนรู้จัก หรือจัดวางสินค้าให้ใกล้กับสินค้าที่ผู้คนสนใจ ก็สามารถทำได้ทันที โดยที่เราไม่ต้องจำเองว่าสินค้าตัวไหนเป็นอย่างไร
อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ถ้าเราอยากเพิ่มสินค้าใหม่ๆเข้ามาในร้านบ้างจะเพิ่มสินค้าตัวไหนดี? เราอาจจะดูข้อมูลว่าปกติแล้วลูกค้าที่มาซื้อของที่ร้านเราปกติเป็นใครบ้าง ถ้าเป็นเด็กๆ หรือคุณแม่ในวัยมีลูก เราอาจนำสินค้าสำหรับเด็กมาวางขายเพิ่ม หรือดูว่าสินค้าตัวไหนที่ขายออกเป็นส่วนมากเช่น คนมาซื้อแชมพูที่ร้านเราบ่อย เราอาจนำสินค้าที่ใช้คู่กับแชมพูเช่นครีมนวดของแชมพูยี่ห้อนั้นมาวางขายเพิ่มก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
ตัวอย่างเครื่องมือสำหรับคนที่สนใจอยากลอง Data Analytics
Excel ก็สามารถใช้ทำได้เหมือนกันนะ ด้วยการที่ Excel เป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลเชิงสถิติอยู่แล้ว และเครื่องมือที่มีครบครันของ Excel ทำให้เราเห็นถึงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่เราสนใจได้

เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับคนที่สนใจสาย BI โดยตรง
tableau

PowerBI

Python & Pandas
แต่ถ้าใครอยากทำเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลใช้เองหรือไม่อยากเสียเงินเพื่อซื้อเครื่องมือมาใช้ล่ะก็ Python เองก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันด้วย Library Pandas สามารถทำให้เราจัดการข้อมูลในเชิงสถิติ หรือแสดงผลข้อมูลให้ออกมาเป็นรูปแบบที่เราต้องการได้เช่นกันนะ
