Skip to main content
0
IT ProfessionalsNewsProductivity

จากมือตัดต่อวิดีโอสู่นักพัฒนาเกม

เกม The First Tree

วันนี้มีเรื่องราวของผู้ชายคนนึงชื่อว่า David ที่เรียนจบทางด้านภาพยนต์และเขียนโค้ดไม่เป็นเลยสักนิด แต่กลายมาเป็นนักพัฒนาเกมอินดี้ที่ประสบความสำเร็จ มาดูกันว่าเขาต้องผ่านมาอะไรมาบ้างกว่าจะไปถึงจุดนั้นได้

เริ่มต้นจากความสนใจเกี่ยวกับเกม

อย่างที่บอกว่า David เรียนทางด้านภาพยนตร์มาเขาจึงเขียนโปรแกรมไม่เป็นเลย แม้กระทั่งในปัจจุบันที่เขามีส่วนร่วมในการทำเกมมาแล้วหลายเกมเขาก็ยังคงเขียนโปรแกรมไม่เป็น แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ทำงานเป็นนักพัฒนาเกมอินดี้เต็มเวลาได้

ตัวอย่าง mod ที่ David สร้างในเกม Star Wars Jedi Knight: Dark Forces II

ตั้งแต่เด็กเขาเริ่มต้นเส้นทางเกี่ยวกับเกมจากการสร้าง mod เกม “Star Wars Jedi Knight: Dark Forces II” สร้างสถานที่เป็นโรงแรมในอวกาศ, แคมป์ล่าสัตว์ และเมืองร้าง โดยใช้สิ่งของต่างๆจาก Library ที่มีคนสร้างเอาไว้แล้ว ซึ่งเขามีความสุขมากๆเวลาได้เห็นคนอื่นๆเข้ามาเล่นในสถานที่ที่เขาสร้าง นอกจากนี้เขายังชอบเล่นเกมเพื่ออกสำรวจดูสิ่งต่างๆที่คนอื่นสร้างไว้ และคิดไว้ว่าสักวันจะสร้างเกมที่สมบูรณ์มากกว่าการแค่ mod ขึ้นมาให้ได้ แต่ตอนนั้นลึกๆเขาก็ยังคิดว่าการจะทำแบบนั้นได้คงจะมีแค่สตูดิโอใหญ่ๆที่มีโปรแกรมเมอร์เก่งๆอยู่เท่านั้นถึงจะทำสำเร็จ ถึงแม้เขาจะคิดว่าการสร้างเกมด้วยตัวเองนั้นเป็นได้ยาก แต่เขาก็ยังคงสร้าง mod เกมต่างๆแจกให้คนได้อื่นได้เล่นฟรีอยู่ตลอด 

David เรียนจบทางด้านภาพยนตร์

จนกระทั่งช่วงมัธยมเขาได้เลือกเรียนทางด้านภาพยนต์ เพราะน่าจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และน่าจะทำให้เป็นจริงได้มากกว่าการสร้างเกม และหลังเรียนจบมหาวิทยาลัยเขาก็ได้ทำสัญญาจ้างงานแรกเป็นงานตัดต่อภาพยนตร์ แต่ทำอยู่ได้ไม่นานจากงานตัดต่อที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็เปลี่ยนไปเป็นงานออกแบบพิมพ์เขียวโครงสร้างท่อระบายอากาศและการวางสายไฟ ซึ่งเขาต้องทำงานนี้กว่า 20 ปี เพราะยังมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆรออยู่

ได้รู้จักกับเครื่องมือที่ช่วยให้ทำตามฝันได้

โปรแกรม Unity ที่ทำให้ David มีความหวังในการสร้างเกม

จนวันนึงเขาได้รู้จักกับ Unity จากเพื่อร่วมงานของเขา ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีสำหรับใช้สร้างเกม เขาได้เห็นเพื่อนร่วมงานคนนั้นสร้างฉากในเกมด้วยการลากวางต้นไม้ กำแพงและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมันดูง่ายและน่าสนุกเอามากๆ เขาเลยถามเพื่อนของเขาว่า “การจะใช้มันจำเป็นต้องเขียนโค้ดเป็นรึเปล่า” คำตอบที่ได้มาก็คือ “ใช่ ต้องใช้สิ” ซึ่งแน่นอนว่าการที่คนทำงานด้านภาพหรือคล้ายๆกันนี้จะเรียนเขียนโปรแกรมนั้นมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย และตลอดเวลาที่เขาสร้าง mod เกมนั้นก็ไม่เคยเขียนโค้ดเลยสักครั้ง

ลองใช้ PlayerMaker สร้างสคริปต์ให้กับเกม

แต่หลังจากนั้นไม่นานเพื่อนร่วมงานของเขาก็บอกว่า “ใน Unity อาจจะมี Plug-in ที่ใช้สร้างสคริปต์โดยไม่ต้องเขียนโค้ด” เข้าเลยลองค้นหาในกูเกิลดูและพบกับ PlayMaker ที่เป็นเครื่องมือสร้างสคริปต์ในเกมขึ้นมาได้ด้วยการลากวางผ่านหน้าจอ เขาลองใช้มันสร้างสคริปต์ใน Unity ขึ้นมาและใช้งานได้ เหมือนหลอดไฟในหัวของหัวของเขาได้ถูกเปิดขึ้นและระเบิดอออก เขาสามารถสร้างเกมง่ายๆตั้งแต่ต้นจนจบได้สำเร็จ

ลองผิดลองถูกและศึกษาเพิ่มเติม

ถึงเขาจะสร้างเกมง่ายๆขึ้นมาได้แล้ว แต่เขาก็ยังเชื่อว่าการใช้ PlayMaker สร้างเกมจริงๆนั้นมันไม่น่าจะเวิร์คอยู่ดี ถึงอย่างนั้นเขาก็ยังเลือกใช้ PlayMaker เพราะอย่างน้อยที่สุดเขาก็ยังได้ลองลงมือทำอะไรสักอย่าง หลังจากซื้อ Plug-in มาแล้วเขาก็เริ่มสร้างโปรเจกต์เกมเล็กๆขึ้นมามากมายโดยที่ไม่ได้เซฟสักครั้ง เพราะเขาอยากจะลองศึกษาดูทุกความเป็นได้จากการใช้ Plug-in ตัวนี้ นอกจากนี้แล้วเขาก็ยังศึกษา Unity UI, Animation window, Light mapping และทุกๆอย่าง ผ่านการค้นหาข้อมูลและอ่านคำถามต่างๆในกูเกิล ซึ่งเขารู้ว่ามันช้าแต่ก็มั่นใจว่าตัวเขาเองค่อยๆพัฒนาขึ้นอยู่ตลอด

การทำงานทางด้านด้านภาพยนตร์ของเขานั้นทำให้เขาชอบที่จะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ พอมาเป็นคนสร้างเกมแล้วเขาก็ยังอยากที่จะทำอย่างนั้นอยู่ ซึ่งมันเป็นเหมือนเป้าหมายใหม่ที่เขารอแทบไม่ไหวที่จะได้ออกค้นหาและทำตามเป้านั้น

เกม Dear Esther ที่ทำให้ David รู้ว่าตัวเองชอบการสำรวจภายในเกม

ครั้งนึงเขาได้เล่นเกม Dear Esther ที่มีเรื่องราวมากมายถูกเล่าผ่านตัวเกม และเขาได้พบว่าเขาหลงรักการออกสำรวจสภาพแวดล้อม 3 มิติเอามากๆ และตอนที่เล่นเกม Gone Home ที่บอกเล่าถึงลักษณะนิสัยของตัวละคร มีการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกผ่านเรื่องราวภายในเกม ทำให้เขาได้ตัดสินใจที่จะสร้างเกมที่สมบูรณ์ขึ้นมาจริงๆสักที

ลงมือทำตามความฝัน

18 เดือนหลังจากวางขายเกมแรกในชีวิต

ในจุดนั้นเขาได้เลิกสร้างสร้างโปรเจกต์มากมายเพื่อทดสอบ แล้วเริ่มสร้างเกมสั้นๆโดยมีเป้าหมายเป็นการที่ผู้คนจะได้เข้ามาสำรวจโลกที่เขาสร้างขึ้น และกลายมาเป็นเกม “Home is Where One Starts” ในที่สุด โดยเขาใช้เวลาว่างหลังเลิกงานและในวันหยุดเพื่อสร้างเกม ผ่านไป 18 เดือนเกมนี้ขายไปได้ 300 ดอลลาร์และถูกค้นหาในกูเกิลมากกว่า 1 ล้านครั้ง แต่ว่าเกมนี้ก็ยังไม่ใช่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวการสร้างรายได้ 1 ล้านดอลลาร์ ที่ทำให้เขาออกจากงานเก่าและมาเป็นนักพัฒนาเกมอินดี้ เพราะว่าหลังจากที่ปล่อยเกมนี้ลงขายใน Steam ผลลัพธ์ที่ได้อยู่แค่ในระดับที่ “OK” เนื่องจากเขาละเลยในเรื่องการวางแผนการตลาดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากสำหรับเกมอินดี้ และการที่เกมมีเนื้อเรื่องสั้นเพียง 30 นาที จึงทำให้เสียงตอบรับบางส่วนมีดีสักเท่าไหร่ แต่แค่นี้เขาก็มีความสุขแล้วเพราะในที่สุดก็สร้างเกมที่เป็นของเขาจริงๆได้สำเร็จ

เกม Home is Where One Starts ได้กลายเป็นโปรเจกต์เจ๋งๆที่เขาสามารถเอาไปอวดกับคนอื่นๆได้ และมันทำให้เขาได้ทำงานในฝันที่ The Void บริษัท startup ด้าน VR (Virtual Reality) โดยในเรซูเมของเขา เขาได้อธิบายว่าได้ปรับปรุงให้เกมรองรับการใช้งานกับ Oculus Rift และขายไปได้กว่า 5,000 ชุดใน Steam ซึ่งมันทำให้เขาได้ทำงานที่ The Void ในที่สุด

ระหว่างที่เขาทำงานที่ The Void เขาอยากจะแก้ไขข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นในเกมแรกที่ทำ หลังจากที่ได้ไอเดียสำหรับสร้าเกมถัดไป เขาก็ใช้เวลาหลังเลิกงานทุกวันในการทำตามเป้าหมายของเขาอีกครั้ง จนกระทั่งผ่านไป 18 เดือน “The First Tree” เกมมุมมองบุคคลที่สาม ที่ให้ผู้เล่นได้ออกสำรวจผ่านสภาพแวดล้อมที่สวยงามก็สร้างขึ้นมาสำเร็จ และในเดือนกันยายน 2017 เกมของเขาก็ได้วางขายใน Steam ซึ่งหนึ่งปีหลังจากนั้นมันก็สร้างรายได้ให้เขาถึง 150,000 ดอลลาร์ ซึ่งมากพอให้เขาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และใช้เพื่อพอร์ตเกมไปลงใน Xbox และ PS4 ในปี 2018 และในที่สุดปี 2019 เขาก็ตัดสินใจออกจากงาน The Void เพื่อเป็นนักพัฒนาเกมอินดี้แบบเต็มตัว

เรื่องราวของ David จากคนที่สนใจในด้านเกมแต่ว่าก็เรียนมาไม่ตรงสาย และเริ่มงานแรกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเกมเลยสักนิดเดียว แต่ด้วยความชอบที่มีและการที่อยากจะทำตามความฝัน ในที่สุดเขาก็สามารถเป็นนักพัฒนาเกมอินดี้ที่เขียนโค้ดไม่เป็นได้สำเร็จจนได้ ก็หวังว่าใครที่ได้อ่านเรื่องของ David แล้วก็น่าจะเอาไปเป็นแรงบันดาลใจกันได้นะครับ เรื่องราวแบบเต็มๆสามารถดูจากวีดีโอด้านล่างนี้ได้เลยครับ

Develeper

Author Develeper

More posts by Develeper

Leave a Reply

Close Menu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า