Skip to main content
0
Programming Language

ภาษา COBOL ที่เริ่มกลับมา มันหน้าตายังไง ?

เวลากว่า 60 ปีอาจจะเป็นเวลาที่นานมากๆ มากกว่าอายุของใครหลายๆคนด้วยซ้ำ แต่เวลาที่นานขนาดนี้ก็ยังไม่สามารถฆ่าภาษาโปรแกรมบางภาษาได้ ภาษาที่ยังคงมีคนใช้อยู่และกลับมาเป็นที่นิยมได้อีกครั้งในปัจจุบัน ภาษานั้นก็คือภาษา COBOL นั่นเอง

ภาษา COBOL ถูกสร้างขึ้นในปี 1959 จนถึงปัจจุบันก็ 61 ปีเข้าไปแล้ว แต่ในปี 2020 นี้โปรแกรมเมอร์ที่เขียน COBOL ได้ก็ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาด สาเหตุนั้นมาจากอะไรกัน ?

ต้องย้อนไปดูกันว่า COBOL นั้นถูกใช้ในการพัฒนาอะไร ถ้าเรามาไล่เรียงดูแล้ว สิ่งที่ภาษาเก่าแก่นี้ทำได้และก็ยังคงทำได้ดีจนปัจจุบันก็คือการใช้ในเครื่อง mainframe computer ที่รองรับการจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างเช่นธุรกรรมการเงินในเครื่อง ATM, ระบบจองตั๋วเครื่องบิน, ระบบโทรศัพท์, ระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานของรัฐ หรือกระทั่งระบบควบคุมไฟจราจร การใช้งานที่หลากหลายนี้เลยทำให้ภาษา COBOL ยังคงเป็นที่ต้องการอยู่ในปัจจุบัน

COBOL มีชื่อเต็มๆว่า Common Business Oriented Language เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูงที่คนเราสามารถอ่านเข้าใจได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจของโปรแกรมเมอร์ในปี 2020 ที่จะเลือกเรียนเป็นภาษาหลัก โดย COBOL มี syntax ที่เข้าใจง่ายมีรายละเอียดที่อธิบายการทำงานของตัวโปรแกรมเอง และมี reserved word หรือคำสงวนเฉพาะของภาษากว่า 600 คำให้เราได้ใช้งาน

นอกจากนี้แล้ว COBOL ยังมีโครงสร้างลำดับชั้นของโปรแกรมที่เข้าใจง่ายไล่ลงไปทีละรัดับตั้งแต่ระดับบนสุดคือโปรแกรมจะกอบไปด้วยหลายๆ Divisions ถัดลงไปก็เป็น Sections, Paragraphs, Sentences, Statements และ Characters ตามลำดับ

ภาพ COBOL hierarchy จากในวีดีโอ

การเขียนภาษา COBOL นั้นใน IDE ที่ใช้อย่างเช่น Visual Studio Code จะมีเส้นแนวตั้งปรากฏอยู่บริเวณที่เขียนโค้ด โดยมองเป็นคอลัมน์แล้วส่วนซ้ายมือของเส้นจะมีอยู่ 6 คอลัมน์สำหรับระบุเลขบรรทัดโดยจะนับเพิ่มทีละ 100 เช่น 000100 -> 000200 แต่ปัจจุบันก็ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในการใส่เลขบรรทัดไว้ด้านหน้า

ภาพตัวอย่างการระบุเลขบรรทัดจากในวีดีโอ

ทุกบรรทัดของโค้ดจะจบด้วย “ . ” เพื่อเป็นการสิ้นสุดบรรทัดนั้นๆ ส่วนในคอลัมน์ที่ 7 จะใช้สำหรับระบุว่าเป็นคอมเมนต์ด้วยเครื่องหมายดอกจัน “ * ” คอลัมน์ที่ 8-11 ระบุการเริ่มต้น Divisions หรือ Paragraphs และคอลัมน์ที่ 12-72 สำหรับเขียนโค้ดจริงๆ โดยสาเหตุที่ต้องเขียนโค้ดไม่เกินคอลัมน์ที่ 72 หรือตัวอีกษรที่ 72 นั้นก็เพื่อให้โค้ดที่เขียนนั้นพอดีกับ Punch Card หรือก็คือบัตรเจาะรูที่ใช้เพื่อใส่คำสั่งไว้ป้อนให้คอมพิวเตอร์ในสมัยก่อนทำงานตามนั่นเอง อีกประโยชน์หนึ่งของการที่จำกัดความยาวของโค้ดแต่ละบรรทัดก็เพื่อให้สามารถอ่านโค้ดได้ง่ายในหน้าจอทุกขนาดนั่นเอง

ตัวอย่างโค้ดรับชื่อ-นามสกุล และแสดงผลออกทางหน้าจอ

       IDENTIFICATION DIVISION.
       PROGRAM-ID. MyHello.
 
      *ตัวแปรต่างๆเขียนไว้ในส่วนนี้
       DATA DIVISION.
            WORKING-STORAGE SECTION.
      *ประกาศตัวแปรด้วยคำว่า PICTURE หรือย่อสั้นๆด้วย PIC
 
      *     แบบเต็มๆ
            01 MY-FNAME PICTURE IS AAAAAAAAAA.
      *     แบบย่อ
            01 MY-LNAME PIC A(10).
 
      *การทำงานของโค้ดจะอยู่ในส่วนนี้
       PROCEDURE DIVISION.
           DISPLAY "Enter your first name."
           ACCEPT MY-FNAME.
 
           DISPLAY "Enter your last name."
           ACCEPT MY-LNAME.
 
           DISPLAY "Hello " MY-FNAME " " MY-LNAME.
 
           
       STOP RUN.

Output:

Enter your first name.
Enter your last name.
Hello Jotar Kujo

ภาษาโปรแกรมในปัจจุบันที่มีอยู่มากมายและยังมีเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ภาษา COBOL ที่ยังไม่ตายและน่าจะยังอยู่ไปอีกนานก็เป็นตัวเลือกภาษาที่น่าสนใจศึกษาเอาไว้เช่นกันนะครับ

บทความนี้อ้างอิงข้อมูลจากวีดีโอด้านล่างนี้ ยังไงก็ลองไปดูเผื่อจะเห็นภาพมากขึ้นกันได้นะครับ

Reference : Fireship COBOL in 100 seconds

Develeper

Author Develeper

More posts by Develeper

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า