“ใช้ของก๊อปหน่อยจะเป็นอะไรไป หาโหลดเอาก็ได้ง่ายนิดเดียว”
“เอาน่าเดี๋ยวก๊อปไฟล์นี้แจกเพื่อนไปก็คงไม่เป็นไรหรอก”
“สมัคร Account เดียวแชร์กับเพื่อนก็ได้ใครๆเขาก็ทำกัน “
แน่นอนว่าหลายครั้งเรามักจะได้ยินเรื่องพวกนี้กันในสังคมไทย แต่จะมีสักกี่คนที่รู้เกี่ยวกับเรื่องของคำว่า”ลิขสิทธิ์” (ซึ่งขอบอกตรงนี้ว่า Content Creator หรือ Developer หลายคนก็ยังไม่คิดถึงจุดนี้เช่นกันในวันที่เราไม่ได้เป็น “ผู้ถูกละเมิด” เอง)
พอพูดถึงลิขสิทธิ์เนี่ยเรามักจะนึกถึงพวกเรื่องเทปผีซีดีเถื่อนหรือเรื่องทำนองว่ากันใช้ของก๊อปของแบรนด์เนมตลอดจนไปถึงการโหลดไฟล์ใน Bittorrent ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยกับเรื่องพวกนี้อาจจะเป็นของคู่กันเลย
โดยเฉพาะพวกเราสายไอทีที่มาสายทางด้าน Digital Product เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเกม แอปพลิเคชัน หรือรวมถึงดิจิทัลคอนเทนต์เช่น หนัง เพลง (และคอร์สเรียนออนไลน์ของเราก็เช่นกัน)
สำหรับใครที่อยู่นอกวงการหรือว่าไม่ได้ทำงานเป็น Content Creator หรือว่าทีมที่พัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์ดังกล่าว ก็คงอาจจะคิดเหมือนต้นบทความใช่ไหมครับที่แบบว่าเฮ้ยไม่เป็นไรหรอกก็แค่เราคนเดียวเองที่ดาวโหลดยังมีอีกหลายคนนะที่ซื้อของไม่เป็นไร
แต่คุณก็น่าจะรู้ใช่ไหมครับว่าสังคมของบ้านเราเนี่ยไม่ได้มีแค่คุณคนเดียวครับที่คิดแบบนี้
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆแล้วกันเกี่ยวกับเรื่องของ Software App หรือว่าเกมสักตัวหนึ่ง บางครั้งเราอาจจะเห็นว่ามันแพงตั้งร้อยกว่าบาทเกือบหลักพันแต่เราเคยมาดูต้นทุนของเขาไหมมากกว่าเขาที่จะมาทำเกมทำแอปซอฟแวร์หรือว่าตัวดิจิตอลคอนเทนต์เข้าใช้ต้นทุนเท่าไหร่
แล้วมาลองแตกค่าใช้จ่ายของเขาง่ายๆแล้วกัน
- ค่านักพัฒนาโปรแกรมระดับเริ่มต้นขั้นต่ำ 18,000 บาทต่อเดือน
- ค่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับเริ่มต้นทำงาน 30,000 บาทต่อ 1 เครื่อง
- ค่า Software ลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 15,000 บาทต่อ 1เครื่อง
ถ้าเกิดว่าในทีมนี้เป็นทีมเล็กๆที่มีนักพัฒนาเพียง 4 คนเราจะพบว่าค่าใช้จ่ายในเดือนแรกของเขาจะมีทั้งหมด 252,000 บาท และค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 72,000 บาท
ลองคิดได้เล่นว่า Application ของเขาขายในราคา 1,000 บาทเขาจะต้องขายได้เท่าไหร่ถึงพอที่จะคืนทุนในเดือนแรกแล้วเดือนถัดไปเขาจะต้องขายให้ได้เท่าไหร่ถึงเพียงพ่อที่จะมีชีวิตอยู่ต่อได้หรือพัฒนาโปรแกรมอื่นต่อไปได้ ?
ใช่ครับการหารด้วย 1,000 บาทมันง่ายเนาะสำหรับทุนก่อนแรกในเดือนแรกของเขาเขาต้องขายให้ได้ 252 ชิ้นแล้วเดือนถัดไปต้องขายให้ได้อย่างน้อย 72 ชิ้นโดยจะต้องบอกก่อนว่ายอดพวกนี้เป็นยอดขั้นต่ำถ้าเกิดว่าเราขายได้เท่านี้จริงๆเราจะไม่มีเงินในการพัฒนาบริษัทต่อเช่นการซื้ออุปกรณ์ถ้าเกิดคอมพิวเตอร์พังหลักถ้าเกิดเราต้องการที่จะเพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้าให้ดีขึ้นล่ะทุกอย่างล้วนเป็นเงินทั้งสิ้น
แล้วถ้าไม่ใช่ซอฟแวร์แต่เป็นดิจิทัลคอนเทนต์ล่ะ คำตอบก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่อย่างเช่นของ BorntoDev ที่เราก็มีค่าใช้จ่ายประจำหลักแสนกว่าบาทต่อเดือนทุกเดือนเลยเช่นกัน โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็มาจากทั้งค่าตัดต่อ Animation เนื้อหาดีๆการเชิญบุคคลเก่งๆเข้ามาให้สัมภาษณ์หรือร่วมพัฒนา Content หรือเนื้อหาร่วมกัน และค่าใช้จ่ายที่ออฟฟิศทั่วไปจะเจออย่างเช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อุปกรณ์สำนักงานตรวจสอบบัญชี
ทั้งหมดนี้รวมกันโอ้โหเป็นแสน ๆ บาทต่อเดือนเลยครับ
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าอยากจะเอาชนะต้นทุนให้ได้เนี่ยก็ต้องขายให้ได้แบบว่าเยอะมากๆเหมือนกัน หลายครั้งเรามักจะคิดว่าของที่ดาวน์โหลดได้ทั้งเกม Application, Content แบบเนี้ยมันมักจะเป็นของฟรีแต่เอาจริงๆแล้วทุกอย่างล้วนมีต้นทุน
การเคารพลิขสิทธิ์ก็คล้ายๆกับการเคารพเจ้าของผลงานหลายครั้งเราในฐานะเป็นเจ้าของผลงานเราพยายามที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ดีที่สุดให้คนใช้งานเนี่ยคนรับชมหรือว่าคนที่ซื้อของเราไปได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดหลายครั้งเจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของผลงานพยายามลงทุนอย่างมากกับผลงานชิ้นหนึ่งเพื่อให้ออกมาให้ดีมากๆไม่ว่าผลงานนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม
ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีคนละเมิดผลงานแบบนี้ไปเรื่อยๆวันหนึ่งที่เขาไม่สามารถที่จะชนะต้นทุนในการผลิตของเขาออกมาได้เราก็จะสูญเสียบุคคลหรือหน่วยงานที่พัฒนาเนื้อหาหรือบริการดีๆที่สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้จริงๆแบบนี้ไป
- คุณโอเคไหมถ้าเกิดวันหนึ่งบนโลกนี้ไม่มี Windows แม้ว่าไมโครซอฟท์จะเป็นบริษัทที่ขนาดใหญ่มากก็ตามแต่คุณจะโอเคไหมถ้าวันนี้มันไม่มี
- ถ้าวันหนึ่งไม่มี adobe คุณจะโอเคไหมที่จะไปใช้ open source อื่นๆทาน Photoshop ที่มันใช้ง่ายและทรงพลังมากๆหรือ Lightroom ที่สามารถทำให้งานของเรามีความสวยงามและส่งลูกค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับเราได้ถ้าไม่มีล่ะจะทำยังไง
ตรงส่วนนี้คือส่วนที่เราอยากให้ทุกคนคิด เพราะว่าโอเคซอฟต์แวร์หรือบริการของต่างประเทศเขาอาจจะขายได้ทั่วโลกดังนั้นเขาอาจจะพอที่จะนะต้นทุนถ้าเกิดเขาล่วงละเมิดเยอะแต่ผู้ซื้อก็ยังเยอะอยู่ในระดับหนึ่ง
แล้วลองกลับมามองดูคนไทยบ้างสิ การที่จะขาย Software ตัวนึงให้ได้เป็นร้อยเป็นพันหรือเป็นหมื่นชิ้นต่อเดือนมันมีความยากขนาดไหนที่จะต้องขายคอนเทนต์รูปแบบออนไลน์ผลเสียที่ต่างๆให้ได้เป็นร้อยเป็นพันหรือว่าเป็นหมื่นชิ้นต่อเดือนคุณคิดว่ามันยากแค่ไหนล่ะ
แล้วถ้าเรายังเป็นส่วนหนึ่งในวงจรนี้อยู่จากที่คุณเคยใช้บริการโปรแกรมของคนไทยที่มีภาษาไทยแบบง่ายๆหรือใช้บริการ Content คอร์สเรียนออนไลน์ที่เข้าใจง่ายของคนไทย อีกไม่นานคงไม่มีบริการเหล่านี้ที่ช่วยให้ชีวิตเราสะดวกสบายขึ้นอีกแน่นอน
เรื่องทั้งหมดนี้คือสิ่งที่อยากให้ทุกคนได้คิด เกี่ยวกับเรื่องของลิขสิทธิ์ เคารพผลงานของผู้ผลิต ให้เหมือนที่เขาลงแรง ลงใจใส่เข้าไปในงาน เพื่อให้โลกนี้ หรือ ประเทศของเรามีคนผลิตเนื้อหาดี ๆ ออกไปเยอะ ๆ กันครับ 🙂