Skip to main content
0
IT ProfessionalsNewsProductivity

สุขภาพจิต ปัญหาชาวไอทีที่สำคัญไม่แพ้สุขภาพกาย

เพราะจิตใจคือเชื้อเพลิงของการมีชีวิต

พนักงานออฟฟิศนอกจากจะเจอปัญหาจากพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพทางร่างกายแล้ว ปัญหาทางด้านสุขภาพจิตกำลังได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะพนักงานทางด้านไอทีอย่างเราๆที่มักจะทำงานอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ ไม่ค่อยได้พบปะใครบ่อยๆ แม้ว่าปัจจุบันจะมีการกำหนดชั่วโมงทำงานไม่ให้เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือสูงสุดไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

พลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับพลังกาย
พลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับพลังกาย

แต่ท่านก็ทราบดีว่า พนักงานด้านไอทีอย่างเรามีเวลางานทั้งในเวลา นอกเวลางาน แทบจะไม่เป็นเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถกระทบต่อการทำงานในระยะสั้น และระยะยาวได้ไม่แพ้กัน สุขภาพทางจิตจึงเป็นภาวะสุขภาพที่เราควรตระหนักและให้ความสนใจไม่น้อยไปกว่าสุขภาพทางด้านร่างกายเลย

ปัจจัยเสี่ยงในสถานที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต

มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างในสถานที่ทำงานที่ส่งผลต่อสุขภาพทางจิต พบว่าปัจจัยส่วนใหญ่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างประเภทงาน สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กร การจัดการภายในองค์กร ทักษะความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน และการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร

ยกตัวอย่างเช่น พนักงานอาจมีทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานที่ดี แต่องค์กรไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการสนับสนุนพนักงานคนนั้นให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วง ไม่มีระบบการจัดการสนับสนุนการปฏิบัติงานที่ดีแก่พนักงาน การส่งมอบงานที่ไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหรือความสามารถ หรือการมอบภาระงานที่หนักเกิน ทำให้เกิดความเครียดสะสมบ่อยครั้ง และอาจก่อเป็นปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้

การทำงานหักโหม หรือ ไม่ใช่งานที่ถนัดอาจส่งผลร้ายกว่าที่คิด
การทำงานหักโหม หรือ ไม่ใช่งานที่ถนัดอาจส่งผลร้ายกว่าที่คิด

ปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพทางจิตในสถานที่ทำงาน ได้แก่

  • นโยบายทางด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของบริษัทที่ไม่เพียงพอ
  • การสื่อสาร และการบริหารจัดการภายในสถานที่ทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • การจำกัดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของพนักงานในองค์กร
  • ชั่วโมงการทำงานที่สูง และไม่ยืดหยุ่น
  • ภาระงานที่ไม่สำเร็จ รวมถึงการได้รับภาระงานที่ไม่เหมาะสม หรือมากเกิน

ซึ่งนอกจากปัจจัยด้านบนแล้ว การเกิดความรุนแรงในสถานที่ทำงาน การถูกข่มเหง หรือ “บูลลี่” หรือถูกคุมคาม (harassment) ทั้งทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ก็ส่งผลไปถึงสุขภาวะทางจิตด้วย

ดังนั้นแล้ว ปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาวะทางจิตจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับแค่ตัวบุคคลหรือพนักงานเท่านั้น องค์กรเองก็มีส่วนเกี่ยวข้อง และสามารถมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีภายในองค์กรได้ จากการศึกษาโดย CMI workplace พบว่า การออกแบบลักษณะออฟฟิศให้เกื้อกับการทำงาน ช่วยให้พนักงานกว่าร้อยละ 33 มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น ความเครียด และความวิตกกังวลในการทำงานก็ลดลงด้วยเช่นกัน

สุขภาวะทางจิตและความเครียด ส่งผลต่อเราและงานของเราอย่างไร

  • ประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง
  • สูญเสียความมุ่งมั่นในการทำงาน
  • ปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานแย่ลง
  • ความสามารถในการทำงาน และการใช้ชีวิตลดลง
  • นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า หรือภาวะความเสี่ยงของสุขภาพในด้านอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เบาหวานความดันโลหินสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคที่เกิดจากสุขภาวะทางจิตที่มีโอกาสพบได้ในสถานที่ทำงาน

  • โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติทางจิตที่มีการศึกษาอย่างกว้างขวางในสถานที่ทำงาน เนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างจะพบได้ในประชากรทั่วไป จากการสำรวจพบว่าในแต่ละปีจะมีพนักงานที่ประสบกับกลุ่มอาการของโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 6 โดยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในสถานที่ทำงานมักมีอาการแสดงให้เห็น เช่น กระวนกระวาย กระสับกระส่าย อารมณ์ฉุนเฉียว อาจมีการพูดถึงความเจ็บป่วยทางกายร่วมด้วย เช่น รู้สึกเจ็บ ปวด นอกจากนี้อาจไม่รู้สึกกระตือรืนร้นในการทำงาน เก็บตัว ไม่มีจุดหมายในการทำงาน ไม่รู้สึก productive ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยล้าในเวลาทำงาน ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติทางอารมณ์ หรือส่งผลไปถึงปัญหาการนอนหลับในเวลากลางคืน
  • โรควิตกกังวล ในสถานที่ทำงาน มักมีอาการแสดง เช่น รู้สึกกระวนกระวาย เหนื่อยล้า ไม่มีสมาธิจดจ่อกับการทำงาน และวิตกกังวลกับเหตุการณ์มากเกิน ผู้ป่วยอาจมีการพูดถึง หรือทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้ตนมั่นใจถึงสิ่งที่ได้ทำอยู่บ่อยๆ เพื่อลดความวิตกกังวล ในบางครั้งเมื่อโรควิตกกังวลเกิดร่วมกันกับโรคซึมเศร้า อาจพบอาการทางกาย หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียวร่วมด้วย ผู้ป่วยโรควิตกกังวลพบว่ามักไม่ได้รับการวินิจฉัยประมาณ 5-10 ปีนับตั้งแต่เกิดอาการ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้อยู่ และมักจะเข้าพบแพทย์มากกว่าคนทั่วไปด้วยอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ปัญหาการนอน ปัญหาเรื่องหัวใจ มากกว่าการการเข้าพบด้วยโรควิตกกังวล
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD) โรคนี้มักก่อปัญหาในวัยเด็กเป็นส่วนมาก แต่ก็นับเป็นปัญหาในวัยทำงาน และวัยผู้ใหญ่ได้ด้วยเช่นกัน การสำรวจสถานที่ทำงานใน 10 ประเทศรวมถึงสหรัฐอเมิรกา พบว่า มีพนักงานป่วยด้วยโรคนี้ราวร้อยละ 5 โดยมีอาการแสดง เช่น มีความคิดไม่เป็นระบบ ไม่สามารถส่งงานได้ตรงตามเวลา มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา หรือปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน พบว่าพนักงานที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นมักมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม วินัยในการทำงานมากกว่าผู้ที่ไม่ได้ป่วยถึง 18 เท่า ไปจนถึงการให้ถูกออกจากงาน
  • โรคไบโพลาร์ โดยปกติโรคนี้จะมีการจำแนกออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงมาเนีย (mania) และช่วงดีเพรส (depress) ในช่วงมาเนีย อาจพบว่าผู้ป่วยมีพลังงาน ความคิดในการทำงานล้นเหลือ (แต่อาจไม่ได้ส่งผลถึงคุณภาพของงาน) และในช่วงที่เกิดมาเนียเต็มขั้น อาจมีความคิดว่าตัวเองอยู่เหนือผู้อื่น (self-aggrandizing) พฤติกรรมก่อกวน แหกกฎสถานที่ทำงาน ก้าวร้าวมากกว่าปกติ และตัดสินใจผิดพลาด (เช่น การตัดสินใจใช้เงินเกินงบประมาณ) แต่ในช่วงดีเพรส ผู้ป่วยจะแสดงอาการซึมเศร้า แม้ว่าในสถานที่ทำงานเรามักจะสังเกตเห็นผู้ป่วยในช่วงมาเนียมากกว่าดีเพรส แต่นักวิจัยเชื่อว่าระยะของการเกิดช่วงซึมเศร้าส่งผลรบกวนการทำงานมากกว่าการเกิดช่วงมาเนีย

ปัญหาที่แท้จริง คือการไม่ได้รับการรักษา  

ในกรณีของโรคซึมเศร้า จากการศึกษาหนึ่งแสดงให้เห็นว่า มีพนักงานเพียงร้อยละ 57 ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าเท่านั้นที่ได้รับการรักษาภายในช่วง 12 เดือน ซึ่งในร้อยละ 57 นั้น มีผู้ป่วยเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ถูกวิธีตามคำแนะนำและมาตรฐานการรักษาที่เป็นที่ยอมรับ ทำให้สามารถประมาณการณ์ได้ว่า พนักงานที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้ามีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งเรายังไม่ได้นับรวมถึงผู้ที่ป่วยแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย การประเมินตนเองว่ามีปัจจัยเสี่ยงเสี่ยง หรือการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากทั้งการสังเกตตนเองหรือคนรอบข้าง ก็เป็นตัวช่วยคัดกรองเบื้องต้นก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปรึกษาษากับแพทย์ หรือนักจิตวิทยาได้อีกทางหนึ่ง

ปัญหาสุขภาพใจ ต้องรู้เท่าทัน และ รีบแก้ไข
ปัญหาสุขภาพใจ ต้องรู้เท่าทัน และ รีบแก้ไข

ปัจจุบันเราให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพทางจิตมากยิ่งขึ้น การเข้าพบนักจิตวิทยา จิตแพทย์ จึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือต้องเป็นโรคเท่านั้น โรคทางจิตเป็นโรคที่ซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสีย การได้รับการวินิจฉัยแต่เนิ่นๆเมื่อรู้ตัว หรืออยู่ในความเสี่ยงจึงถือเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง นอกจากนี้แล้วผู้ที่สงสัยหรือต้องการขอรับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต สามารถติดต่อสายด่วนสุขภาพจิต 1323 โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. โดยมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้คำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง

อ้างอิง

BorntoDev

Author BorntoDev

BorntoDev Co., Ltd.

More posts by BorntoDev

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้สำหรับการติดตามทางการตลาด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเพื่อการวิเคราะห์ และ นำเสนอโปรโมชัน สินค้า รวมถึงหลักสูตรฟรี และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ คุณสามารถเลือกปิดคุกกี้ประเภทนี้ได้โดยไม่ส่งผลต่อการทำงานหลัก เว้นแต่การนำเสนอโปรโมชันที่อาจไม่ตรงกับความต้องการ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า